ศบศ. เคาะมาตรการ ช้อปดีมีคืน ลดหย่อนภาษีสูงสุด 3 หมื่นบาท เริ่ม 23 ตุลาคม-31 ธันวาคม 2563

ศบศ. เคาะมาตรการ “ช้อปดีมีคืน” ลดหย่อนภาษีสูงสุด 3 หมื่นบาท มีผลตั้งแต่ 23 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2563  เพื่อใช้ ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2563 ณ มีนาคม 2564 ทั้งนี้ หากประชาชนได้ใช้สิทธิ์โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่ง รัฐ หรือโครงการคนละครึ่งแล้ว จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้

ซึ่งมาตรการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศ พร้อมสนับสนุน ผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษี รวมถึงส่งเสริมการผลิตสินค้าท้องถิ่น และส่งเสริมการอ่าน ผ่านกระบวนการลดหย่อนภาษี ของเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2563 สำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามจำนวนที่ จ่ายจริง มูลค่ารวมกันไม่เกิน 30,000 บาท

ใครที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามมาตรการ "ช้อปดีมีคืน" บ้าง?

ตามที่ได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ของผู้ที่สามารถเข้าร่วมกับมาตรการนี้ ระบุไว้ดังนี้

  • กลุ่มผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 
  • กลุ่มผู้ประกอบการประเภทผู้ประกอบการค้าสินค้า บริการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและผู้ประกอบการขาย หนังสือและสินค้า OTOP 

โดยมาตรการดังกล่าวมีการยกเว้น ประเภทของสินค้าและบริการบางชนิดที่ไม่สามารถนำมาร่วมลดหย่อนภาษีได้  ดังนี้ สินค้าเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ยาสูบ สลากกินแบ่งรัฐบาล น้ำมัน ค่าที่พัก และค่าตั๋วเครื่องบิน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...