ภาครัฐฯ เผยพิจารณาระบบ Microgrid ในไทย เปิดช่องขับเคลื่อน Smart City

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เตรียมเสนอรูปแบบแผนการจัดการระบบพลังงานแบบ Microgrid เพื่อธุรกิจ แก่กระทรวงพลังงาน ตั้งเป้าวางระบบให้พร้อมสำหรับการขายไฟฟ้าระหว่างรายย่อยหรือ Peer-to-Peer Energy Trading Photo by Julian Wildner on Unsplash

ปฏิเสธไม่ได้ว่า พลังงานเป็นอีก Sector หนึ่งที่จะถูก Disrupt โดยอาศัยพลังจากเทคโนโลยีอันหลักหลาย แม้จะเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและการเกิด Smart City แต่ก็มีส่วนที่ต้องคำนึงก็คือผลกระทบต่อธุรกิจพลังงานแบบเดิมที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามแนวคิดนั้นๆ ทำให้ล่าสุด สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานจึงได้จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นและสรุปร่างแผนงานเกี่ยวกับการใช้ระบบ Microgrid ในประเทศไทยอันเป็นพื้นฐานของการผลิตและใช้พลังงานในอนาคตเพื่อเสนอกระทรวงพลังงาน

คุณวัฒนพงษ์ คุโรวาท รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า สนพ.เตรียมสรุปข้อมูลการรับฟังความคิดเห็นระบบธุรกิจ Microgrid ครั้งสุดท้าย เพื่อนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานพิจารณา ก่อนที่จะกำหนดเป็นนโยบายเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจไมโครกริดที่เหมาะสมกับประเทศไทยในอนาคต เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยี ที่ผู้ใช้ไฟฟ้ากลายเป็นทั้งผู้ใช้และผู้ผลิตไฟเอง (Prosumer) รวมถึงการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างรายย่อย (Peer to Peer)

นอกจากนี้ แผนจะพูดถึงการจัดการไฟฟ้าในเขตนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกันภายใต้โครงข่ายเล็กหรือ Microgrid ไปจนถึงการเตรียมตัวของ 3 การไฟฟ้า คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

คุณศุภสิทธิ์ อัมราลิขิต ที่ปรึกษาโครงการร่างรูปแบบธุรกิจระบบ Microgrid กล่าวว่า ระบบไฟฟ้าแบบ Microgrid ไม่เพียงแต่ช่วยให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานมากกว่าการคอยพึ่งพาระบบไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ยังสามารถรองรับการซื้อขายไฟฟ้าในรูปแบบใหม่ๆ เช่น สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

คุณสุวัฒน์ กมลพนัส ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) แสดงความเห็นสอดคล้องในประเด็นยานยนต์ไฟฟ้าว่า ยานยนต์ไฟฟ้าจำเป็นต้องการแหล่งชาร์จพลังงานตลอดเส้นทางในประเทศไทย ซึ่งระบบไฟฟ้าแบบ Microgrid จะช่วยตอบโจทย์ในส่วนนี้ เนื่องจากทำให้ผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ได้ตลอด ทั้งยังมีแนวโน้มได้ราคาถูกกว่าการซื้อไฟฟ้าจากภาครัฐฯ ในปัจจุบัน

ทั้งนี้ แผนดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับแผนแม่บทขับเคลื่อนสมาร์ทกริดระยะสั้น ปี พ.ศ. 2559 - 2564 ที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ มาตรการความร่วมมือการลดใช้พลังงาน, ระบบพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียนให้สามารถเพิ่มระดับการพึ่งพาได้ และระบบ Microgrid กับระบบกักเก็บพลังงานที่ไว้ใช้ในยามวิกฤติ ทั้งนี้ จะตั้งเป้าให้เกิดการใช้ระบบ Microgrid เชิงธุรกิจภายใน 3-5 โครงการ ในพื้นที่อุตสาหกรรมและ Smart City ต่างๆ เช่น ในพื้นที่โครงการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC

อ้างอิง: ศูนย์ข่าวพลังงานและสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...