Microsoft Teams เตรียมเปิดฟีเจอร์ 'วุ้นแปลภาษา' แบบเรียลไทม์

Microsoft เตรียมพัฒนา Microsoft Teams ด้วยฟีเจอร์ใหม่ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลียนเสียงของตัวเองเพื่อใช้ในการประชุม พร้อมรองรับการพูดคุยในหลากหลายภาษา

ในงาน Microsoft Ignite 2024 ที่จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา Microsoft ได้เผยโฉมฟีเจอร์ใหม่ใน Teams ชื่อ “Interpreter” ซึ่งเป็นระบบแปลภาษาแบบเรียลไทม์ที่สามารถจำลองเสียงพูดของผู้ใช้ในภาษาอื่นได้ถึง 9 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลียน ญี่ปุ่น เกาหลี โปรตุเกส จีนกลาง และสเปน โดยฟีเจอร์นี้จะเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการในต้นปี 2025 

“ลองจินตนาการว่าคุณสามารถพูดในภาษาอื่นได้ด้วยเสียงที่เหมือนตัวคุณเอง” Jared Spataro ประธานฝ่ายการตลาดของ Microsoft กล่าวในบล็อกโพสต์ พร้อมอธิบายว่า Interpreter in Teams ฟีเจอร์ใหม่ใน Microsoft Teams จะช่วยแปลภาษาให้แบบเรียลไทม์แถมยังทำให้เสียงเราพูดภาษาอื่นได้ด้วยเหมือนมีล่ามส่วนตัวคอยแปลให้แต่เป็นเสียงเราเอง 

ความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้ยังคงเป็นหัวใจสำคัญ

แม้ Microsoft จะยังไม่ได้ให้รายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับฟีเจอร์นี้ แต่ได้ยืนยันว่า Interpreter in Teams จะไม่เก็บข้อมูลไบโอเมตริกซ์ของผู้ใช้ และไม่เพิ่มอารมณ์หรือข้อความใดๆ ที่ไม่ได้อยู่ในเสียงต้นฉบับ ซึ่งฟีเจอร์นี้ยังสามารถปิดการใช้งานได้จากการตั้งค่าใน Teams

“ฟีเจอร์นี้ถูกออกแบบมาเพื่อถ่ายทอดข้อความของผู้พูดอย่างตรงไปตรงมาที่สุด โดยไม่ใส่การตีความเพิ่มเติม” พร้อมเสริมว่าการเปิดใช้งานเสียงจำลองจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ใช้ให้ความยินยอมผ่านการแจ้งเตือนหรือการตั้งค่า

โอกาสและความท้าทายของ AI แปลภาษา

Microsoft ไม่ใช่บริษัทเดียวที่พัฒนาเทคโนโลยีโคลนเสียง Meta เองก็ได้เริ่มทดสอบเครื่องมือแปลเสียงใน Instagram Reels ขณะที่ ElevenLabs มีแพลตฟอร์มสำหรับการสร้างเสียงพูดหลายภาษาที่ทรงพลัง

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีแปลภาษา AI ยังมีข้อจำกัด เช่น การแปลที่ไม่อาจสื่อถึงความหมายได้อย่างแม่นยำเท่ามนุษย์ แต่ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า หลายองค์กรก็ยอมรับข้อจำกัดนี้เพื่อแลกกับความคุ้มค่า โดยข้อมูลจาก Markets and Markets ระบุว่า อุตสาหกรรมการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) รวมถึงเทคโนโลยีการแปลภาษา มีมูลค่าที่อาจสูงถึง 35.1 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2026

ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม การโคลนเสียงยังมีประเด็นด้านความปลอดภัยที่น่ากังวล ยกตัวอย่างเช่น Deepfake ซึ่งถูกนำไปใช้แพร่กระจายข้อมูลเท็จหรือแอบอ้างบุคคล เช่น ประธานาธิบดีโจ ไบเดน และนักร้องชื่อดัง เทย์เลอร์     สวิฟต์ ซึ่งได้รับยอดวิวและการแชร์นับล้านครั้ง รวมถึงการหลอกลวงทางการเงินที่สร้างความเสียหายมูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา

แม้ Microsoft จะออกแบบ Interpreter in Teams ให้ใช้งานได้เฉพาะบางกรณี แต่ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่เครื่องมือนี้จะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น การนำคลิปเสียงปลอมมาขอข้อมูลสำคัญ ในอนาคต Microsoft น่าจะเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการป้องกันที่พัฒนาเพิ่มเติมเพื่อให้ฟีเจอร์นี้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...

Responsive image

ไทย–อินเดีย จับมือสู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”

ไทย-อินเดียยกระดับสัมพันธ์สู่ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ประกาศความร่วมมือ 6 ฉบับ ครอบคลุมเศรษฐกิจ ดิจิทัล วัฒนธรรม รับมือแรงสั่นสะเทือนจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ และเสริมบทบาทภูมิรัฐศาสตร์ใ...

Responsive image

[ข่าวลือ] Microsoft ชะลอการลงทุน Data Center ในหลายประเทศทั่วโลก

Microsoft ถูกเปิดเผยว่าชะลอหรือหยุดการลงทุนใน Data Center หลายประเทศ ทั้งลอนดอน ชิคาโก อินโดนีเซีย และวิสคอนซิน สะท้อนการทบทวนยุทธศาสตร์ AI และคลาวด์ ข้อมูลจาก Bloomberg...