ผลการศึกษาหลายประเทศ พบ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่างชนิดกัน กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น

แม้ว่าผู้ผลิตวัคซีนโควิด-19 จะมีมากมายทั่วโลก แต่หลายประเทศก็ยังประสบปัญหาปริมาณวัคซีนไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากร ส่งผลกระทบต่อการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติได้ยากขึ้นกว่าเดิม ด้วยเหตุนี้นักวิจัยหลายฝ่ายจึงมองว่าการบรรเทาสถานการณ์โควิด-19 ด้วยการให้ประชาชนฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่างชนิดกันในการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดียิ่งขึ้น

ฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่างชนิด

โดยการจับคู่วัคซีนอาจไม่เพียงแค่ฉีดวัคซีนของบริษัทผลิตวัคซีน Pfizer โดสแรก แล้วหันมารับวัคซีนจาก Moderna อีกโดสหนึ่งเท่านั้น แต่อาจเป็นการรับวัคซีนที่มีพาหะที่แตกต่างกันไป อย่างการฉีดวัคซีนจาก AstraZeneca ที่ทำมาจาก viral vectorโดสแรก และกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยโดสที่สองจากวัคซีนของ Moderna ที่ทำมาจาก mRNA

แนวทางดังกล่าวจะช่วยให้ผู้คนทั่วโลกเข้าถึงวัคซีนได้ง่ายขึ้น และช่วยยุติการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้เร็วขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งนักวิจัยมองว่าการผสมผสานวัคซีนแต่ละยี่ห้อเข้าด้วยกันก็จะกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าหากฉีดวัคซีนยี่ห้อเดียวไปทั้งหมด 2 โดส 

อย่างไรก็ตาม การจับคู่วัคซีนโควิด-19 นั้นยังอยู่ในช่วงการทดสอบระยะเบื้องต้น โดยผลการทดสอบจากสเปนพบว่า ผู้ป่วยกว่า 600 รายที่ได้รับวัคซีน Pfizer-BioNTech ควบคู่กับ AstraZeneca กระตุ้นการตอบสนองภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด-19 อย่างแข่งแกร่ง 

ขณะเดียวกัน ผลการศึกษาเบื้องต้นจากเยอรมนีพบว่า การได้รับวัคซีนจาก AstraZeneca ก่อนแล้วตามมาด้วยวัคซีน Pfizer นั้นให้การป้องกันที่ดีกว่าการฉีดวัคซีน AstraZeneca ยี่ห้อเดียวทั้งสองโดส แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังคงต้องตรวจสอบความปลอดภัยและปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยโดยละเอียดอีกครั้ง


ข้อมูลจาก  PBS


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...