เตรียมบอกลาการถ่ายสำเนาบัตรประชาชน! รัฐและเอกชนเร่งพัฒนา Digital ID ระบบยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์

เชื่อว่าทุกคนเคยเจอปัญหาเวลาที่จะต้องสมัครใช้บริการจากภาครัฐหรือเอกชน เมื่อเวลาที่ต้องยืนยันตัวตน มักจะต้องกรอกเลข 13 หลักบนบัตรประชาชน และถ่ายเอกสาร เซ็นสำเนาถูกต้อง ซึ่งแน่นอนว่ามีความยุ่งยากและตรวจสอบได้ยาก ขณะนี้ ถึงเวลาแล้ว สำหรับ National Digital ID หรือระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อบริการของรัฐและเอกชน ที่หลายฝ่ายมีความพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นภายในปีหน้า

นายเกียรติชัย โสภาเสถียรพงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมด้วย นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ดร. อนุชิต อนุชิตานุกูลและ ผู้แทนสมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย ได้แถลงข่าว การจัดสัมมนา National Digital ID Infrastructure ในวันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.30 – 17.00 น. ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 7 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องแนวทาง ในการพัฒนาโครงสร้างนี้

โดย ดร. อนุชิต อนุชิตานุกูล ได้อธิบายความหมายของ Digital ID ว่าคือ กระบวนการโครงสร้างที่ทำให้รู้ได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นบุคคลตัวจริง คือสามารถยืนยันตัวตนได้อย่างชัดเจน ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะกับหน่วยงานที่ยังไม่เคยมีข้อมูลหรือรู้จักผู้ใช้มาก่อนเลย อีกทั้งยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญได้ โดยข้อมูลที่ได้รับการยืนยันจากหน่วยงานที่ลงทะเบียนไว้จะต้องเป็นข้อมูลที่สามารถเชื่อถือได้ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการแอบอ้าง และการฉ้อโกงทางออนไลน์

ทั้งนี้การสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับระบบพิสูจน์ตัวตนอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ในการเชื่อมต่อระบบของตัวเองเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดเป็นระบบนิเวศขึ้น

Photo: กระทรวงการคลัง

ดร. อนุชิต ยกตัวอย่างแนวคิดพื้นฐานของระบบ Digital ID นี้ไว้ว่า

เมื่อผู้ใช้ติดต่อเพื่อเข้าใช้บริการของ Relying Party หรือผู้ให้บริการทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างเช่น ธนาคาร ที่ยังไม่เคยใช้บริการมาก่อน ผู้ให้บริการนั้นจะสามารถขอยืนยันตัวตนผู้ใช้จากผู้ให้บริการเจ้าเก่าที่เคยมีข้อมูลอยู่แล้ว โดยเจ้าเก่าสามารถเป็นผู้พิสูจน์ตัวตน หรือ Identity Provider เพื่อยืนยันให้กับเจ้าใหม่ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันและส่งต่อข้อมูลให้ได้

นอกจากนี้ยังมีแนวคิดแบบ cross channel (เช่นการยืนยันผ่านมือถือ) หรือ แบบ Cross Off-line channel เพื่อให้ผู้ที่ไม่เคยมีข้อมูลบนดิจิทัลสามารถไปยืนยันตัวตนแบบออฟไลน์ก่อนในครั้งแรกได้ด้วย

ทั้งนี้ โครงสร้างพื้นฐานข้างต้นนี้ ยังไม่ได้กำหนดแน่ชัดว่าจะต้องใช้ “วิธีการ” ใดโดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้สามารถรองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงสัมมนา National Digital ID Infrastructure ที่จะจัดขึ้นนี้ จะเป็นเวทีในการระดมความเห็น เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและกระบวนการทำธุรกรรมในปัจจุบันและที่จะเกิดในอนาคตได้

การสัมมนาจะประกอบด้วย การนำเสนอโครงสร้างพื้นฐานของระบบ การเสวนา (Panel Discussion) ซึ่งจะแบ่งเป็นด้านเทคนิคและด้านกฎหมายและระเบียบปฎิบัติ ผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนา สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและลงทะเบียนสำรองที่นั่งได้ที่ Facebook.com/nationaldigitalid ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 บ่ายโมงเป็นต้นไป

การพัฒนา Digital ID เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำ National E-payment เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่ Digital Economy ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างสูงจากทั้งภาครัฐและเอกชน โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถเริ่มให้บริการระบบ National Digital ID ได้ภายในปีหน้า

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...