ใช้ AI ไขรหัสโปรตีน! นักวิทยาศาสตร์ยุค AI คว้ารางวัลโนเบลเคมีแห่งปี 2024

รางวัลโนเบล (Nobel Prize) สาขาเคมี ปี 2024 ได้ถูกมอบให้แก่นักวิทยาศาสตร์ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อไขรหัสของโปรตีน ทำให้วงการเกิดความก้าวหน้าด้านการคาดการณ์ และออกแบบโครงสร้างของโปรตีนในอนาคต

โดย David Baker นักชีวเคมีชาวสหรัฐฯ จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ได้รับการยกย่องจากงานวิจัยเขิงคำนวณที่นำไปสู่การสร้างโปรตีนชนิดใหม่ทั้งหมด ผ่านการใช้เครื่องมือ AI หลายตัวที่ถูกสร้างมาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ ซึ่งหนึ่งในนั้นมีชื่อว่า Rosetta

โปรตีน มีหน้าควบคุมและขับเคลื่อนปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เป็นพื้นฐานของชีวิต พวกมันทำหน้าที่เป็นฮอร์โมน แอนติบอดี และส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อต่างๆ

ภารกิจของ Baker คือการออกแบบโปรตีนใหม่ที่ไม่มีอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งกลุ่มผู้วิจัยของ Baker ก็ได้ทำสำเร็จ และได้ผลิตโปรตีนชนิดใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในด้านการแพทย์และวัสดุศาสตร์

ส่วน Demis Hassabis และ John Jumper จาก Google DeepMind ได้รับการยกย่องในฐานะการพัฒนาแบบจำลองเพื่อคาดการณ์โครงสร้างที่ซับซ้อนของโปรตีนผ่านผลงานที่เรียกว่า AlphaFold2

สำหรับ AlphaFold2 เป็น AI ที่ใช้ทำนายโครงสร้างสามมิติของโปรตีนจากลำดับของกรดอะนิโน ซึ่งช่วยให้นักวิจัยสามารถคาดการณ์โครงสร้างของโปรตีนได้มากกว่า 200 ล้านชนิดที่นักวิจัยระบุไว้ โดย AlphaFold 2 ถูกนำไปใช้โดยผู้คนมากกว่า 2 ล้านคนจาก 190 ประเทศทั่วโลกในการประยุกต์ใช้งานต่างๆ เช่น การทำความเข้าใจการดื้อยาปฏิชีวนะ ไปจนถึงการพัฒนาเอนไซม์ที่สามารถย่อยสลายพลาสติกได้ เป็นต้น

และที่น่าสนใจคือ Demis Hassabis และ John Jumper เคยทำงานเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับมือกับผู้เล่นระดับท็อปของโลกของเกมกระดานจีนโบราณ หรือ โกะ ก่อนที่จะหันมาสนใจในการค้นคว้าด้านโปรตีน

ความก้าวหน้าครั้งนี้ถือว่าสำคัญต่อวงการเป็นอย่างมาก ทางคณะกรรมการเบลกล่าวว่า สิ่งนี้อาจนำไปสู่นาโนวัสดุแบบใหม่ การพัฒนายา และวัคซีนที่รวดเร็วขึ้น เซ็นเซอร์ที่มีขนาดเล็กลง ไปจนถึงอุตสาหกรรมเคมีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ก็เคยมีการให้รางวัลโนเบลที่เกี่ยวข้องกับ AI มาแล้ว ยกตัวอย่างเช่น โนเบลสาขาฟิสิกข์ที่มอบให้แก่ John Hopfield จากผลงานการพัฒนาเครือข่ายประสาทเทียมในยุคแรกๆ ไปจนถึงการมอบรางวัลให้กับ Geoffrey Hinton เจ้าพ่อ AI สำหรับการทำให้เครื่องจักรมีความสามารถในการตีความข้อมูลที่ได้รับการฝึกฝน


อ้างอิง : CNN, MIT

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...