OpenAI เปิดตัว Operator AI Agent ตัวล่าสุดจากค่าย ‘ซื้อของ จองที่พัก’ ให้จัดการแทนได้

AI agent จากค่าย OpenAI ถือกำเนิดแล้ว และมาในชื่อ Operator ระบบ AI ผู้ช่วยอัจฉริยะที่สามารถทำงานออนไลน์แทนคุณได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาการทำงานของมนุษย์ทั้งหมด เช่น การจองที่พัก ทำการจองร้านอาหาร หรือช้อปปิ้งออนไลน์

โดย Operator กำลัวจะเริ่มเปิดให้ใช้งานในสหรัฐอเมริกา สำหรับผู้สมัครใช้งาน ChatGPT แพ็กเกจ Pro ราคา 200 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน และคาดว่าจะขยายไปยังกลุ่มผู้ใช้ในระดับ Plus, Team และ Enterprise ในอนาคต

Operator คืออะไร และทำอะไรได้บ้าง ?

Operator คือ AI Agent อัจฉริยะที่สามารถทำงานแทนคุณได้โดยอัตโนมัติ เช่น การจองที่พัก การจองร้านอาหาร หรือช้อปปิ้งออนไลน์ เพียงแค่คุณระบุสิ่งที่ต้องการ ระบบจะเริ่มดำเนินการผ่านเบราว์เซอร์ในหน้าต่างแยก พร้อมแสดงขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียด ผู้ใช้ยังสามารถเข้าควบคุมการทำงานได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อต้องการใส่ข้อมูลสำคัญ เช่น รหัสผ่านหรือข้อมูลบัตรเครดิต

แล้ว Operator ทำงานอย่างไร ?

Operator ขับเคลื่อนด้วยโมเดล Computer-Using Agent (CUA) ซึ่งเป็นการรวมพลังระหว่าง GPT-4o ที่มีความสามารถในการมองเห็น กับโมเดลขั้นสูงที่เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์และแก้ปัญหา โมเดลนี้ถูกฝึกมาให้ทำงานกับองค์ประกอบในหน้าเว็บไซต์ เช่น ปุ่ม เมนู หรือช่องกรอกข้อความ โดยไม่ต้องพึ่งพา API ช่วยให้ Operator สามารถใช้งานเว็บไซต์ต่างได้เหมือนมนุษย์จริง ๆ

นอกจากนี้ OpenAI ยังได้ร่วมมือกับบริษัทชั้นนำ เช่น DoorDash, Instacart, Priceline, Uber และ StubHub เพื่อให้มั่นใจว่า Operator สามารถทำงานได้อย่างสอดคล้องกับนโยบายของแต่ละธุรกิจ และรองรับการใช้งานในโลกจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ถ้าต้องทำงานเกี่ยวกับข้อมูลการเงินของเรา จะปลอดภัยไหม ?

นี่คงเป็นสิ่งที่หลายๆ คนกังวลเกี่ยวกับการใช้งาน Operator ซึ่งเรื่องของความปลอดภัยทาง OpenAI เผยว่า มีการออกแบบระบบให้มีความปลอดภัยสูงสุดและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้:

  1. ระบบยืนยันก่อนส่งคำสั่งสำคัญ: Operator จะถามผู้ใช้เพื่อยืนยันทุกครั้งก่อนดำเนินการใด ๆ ที่มีผลกระทบ เช่น การส่งคำสั่งซื้อ การยกเลิกบริการ หรือการดำเนินการที่อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลสำคัญ เพื่อให้ผู้ใช้ตรวจสอบความถูกต้องก่อนยืนยัน
  2. จำกัดการทำงานบางประเภท: เพื่อป้องกันความเสี่ยงในขั้นแรก Operator ไม่สามารถดำเนินธุรกรรมทางการเงิน เช่น การโอนเงิน หรือส่งอีเมลได้ แม้ระบบจะมีศักยภาพ แต่ OpenAI ยังคงจำกัดการใช้งานในบางด้านเพื่อความปลอดภัย
  3. การตรวจสอบแบบเรียลไทม์: Operator จะตรวจจับการทำงานที่อาจมีความเสี่ยง เช่น การเผชิญ CAPTCHA (กลไกอัตโนมัติที่ใช้ทดสอบเพื่อให้ทราบว่ามนุษย์หรือคอมพิวเตอร์), การกรอกข้อมูลสำคัญ เช่น รหัสผ่าน หรือข้อมูลบัตรเครดิต เมื่อพบสถานการณ์เหล่านี้ ระบบจะหยุดดำเนินการและขอให้ผู้ใช้เข้าควบคุมเอง
  4. โหมดดูแลในเว็บไซต์ที่มีความอ่อนไหว: ในเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลสำคัญ เช่น อีเมลหรือการเงิน Operator จะทำงานในลักษณะ “โหมดดูแล” ซึ่งผู้ใช้จะต้องกำกับและตรวจสอบการทำงานของระบบอย่างใกล้ชิด

ข้อจำกัดในปัจจุบัน

  1. ความสามารถในการจัดการงานซับซ้อน: Operator ยังไม่สามารถดำเนินงานที่ซับซ้อน เช่น การสร้างสไลด์โชว์ที่มีหลายองค์ประกอบ การจัดการตารางเวลาที่ซับซ้อน เป็นต้น
  2. ปัญหากับอินเทอร์เฟซที่ไม่เป็นมาตรฐาน: หาก Operator พบหน้าเว็บไซต์ที่ออกแบบอินเทอร์เฟซแปลกใหม่หรือไม่ตรงตามมาตรฐานทั่วไป ระบบอาจ “ติดขัด” หรือหยุดทำงาน และต้องให้ผู้ใช้ช่วยดำเนินการต่อ
  3. การป้องกันข้อมูลส่วนตัว: Operator จะไม่เก็บหรือถ่ายภาพหน้าจอข้อมูลที่ผู้ใช้กรอก เช่น รหัสผ่านหรือบัตรเครดิต เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้

OpenAI มีแผนที่จะพัฒนาและเพิ่มมาตรการความปลอดภัยให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น รวมถึงการสร้างระบบป้องกันการโจมตีจากผู้ไม่หวังดี เช่น การหลอกลวงด้วย CAPTCHA ปลอม หรือการป้องกันไม่ให้ AI ตกเป็นเครื่องมือของการโจมตีทางไซเบอร์ต่อไปในอนาคตด้วย

อ้างอิง: techcrunch

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...

Responsive image

ไทย–อินเดีย จับมือสู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”

ไทย-อินเดียยกระดับสัมพันธ์สู่ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ประกาศความร่วมมือ 6 ฉบับ ครอบคลุมเศรษฐกิจ ดิจิทัล วัฒนธรรม รับมือแรงสั่นสะเทือนจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ และเสริมบทบาทภูมิรัฐศาสตร์ใ...

Responsive image

[ข่าวลือ] Microsoft ชะลอการลงทุน Data Center ในหลายประเทศทั่วโลก

Microsoft ถูกเปิดเผยว่าชะลอหรือหยุดการลงทุนใน Data Center หลายประเทศ ทั้งลอนดอน ชิคาโก อินโดนีเซีย และวิสคอนซิน สะท้อนการทบทวนยุทธศาสตร์ AI และคลาวด์ ข้อมูลจาก Bloomberg...