เจาะลึกการทำ Pitch Deck ของสตาร์ทอัพ ควรมีอะไรบ้าง ?

สำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ Pitch Deck หรือ การนำเสนอไอเดียแบบสั้น ๆ ที่ช่วยให้นักลงทุนและลูกค้าได้เห็นภาพรวมของธุรกิจ แผนธุรกิจ และแนวโน้มการเติบโตจะเป็นตัวช่วยสร้างโอกาสให้กับธุรกิจได้ 

Pitch DeckPaul O'Brien ผู้บริหารของ MediaTech Venture ได้ออกมาแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับการนำเสนอไอเดียจากผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพที่เขาพบเจอมา และได้ให้คำแนะนำพร้อมเทคนิคดีๆ กับสิ่งที่ควรมีในการนำเสนอไอเดีย (Pitch Deck) 

หลายครั้ง Paul ต้องเจอกับสตาร์ทอัพที่ต้องการทดลองสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้เขาดู ซึ่งทำให้เสียเวลา เพราะที่จริงแล้วการสาธิตผลิตภัณฑ์นั้น เหมาะสำหรับคนที่จะซื้อมากกว่า หากคุณต้องการให้นักลงทุนมาลงทุน คุณก็ควรที่จะขายไอเดียมากกว่า (Pitch) เพราะนักลงทุนไม่ได้ต้องการจะซื้อ แต่ต้องการจะร่วมรับความเสี่ยงว่าบริษัทนั้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่

ในบทความนี้ Techsauce ได้นำเทคนิคที่ Paul แชร์มาให้ทุกท่านอ่านกันว่า สตาร์ทอัพที่กำลังอยู่ในระยะเริ่มต้นและต้องการระดมทุนนั้น ต้องมีอะไรในการนำเสนอไอเดียบ้าง (What Shoud Be On Your Pitch deck)

6 สิ่งที่ต้องมีใน Pitch deck

Pitch Deck คือ สื่อในการนำเสนอที่เราใช้ในการนำเสนอ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อสรุปให้ผู้ฟังเข้าใจธุรกิจภายในระยะเวลาอันสั้น ใช้เวลาไม่เกิน 3-7 นาทีและมีเพียงแต่ 13-15 Slides พูดง่ายๆ คือเอาแต่เนื้อไม่เอาน้ำ ทำให้สิ่งจำเป็นที่ควรใส่มี 6 อย่าง ดังนี้

  1. Problem - มีปัญหาที่ต้องการจะแก้ไขจริงๆ หรือเปล่า ? (และโอกาส) 

  2. Solution & Value Proposition - มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไรบ้าง และจะสร้างมูลค่าได้อย่างไร เพราะถ้าสร้างมูลค่าไม่ได้ก็ไม่มีใครจะให้ทุน

  3. Business Model - ใช้โมเดลธุรกิจรูปแบบไหน และจะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างไรบ้าง โมเดลธุรกิจไม่ใช่วิธีการทำเงินเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการคำนึงถึงทั้งรายได้ละต้นทุน (Revenue & Cost)

  4. Competition - อย่าคิดว่าผลิตภัณฑ์เราดีที่สุด หรือเราไม่มีคู่แข่ง และจงให้ความสำคัญกับการตลาดเป็นอันดับแรก

  5. Founding Team - คุณและทีมของคุณจะทำได้จริงหรือเปล่า? ถ้าทำไม่ได้จริงนั่นแปลว่าคุณยังไม่พร้อมที่จะระดมทุนเพราะคุณยังอยู่ในขั้นตอนของการสร้างทีมอยู่

  6. Fundrasing - อธิบายว่าต้องการเงินทุนในรูปแบบไหน และเมื่อได้เงินทุนไปแล้วจะสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจอย่างไรบ้าง เหตุผลจริงๆ ที่ต้องการเงิน และนักลงทุนจะได้อะไรกลับมาบ้าง

ถ้าทำ 6 ข้อข้างบนได้แล้ว ก็เสริมอีก 5 ข้อ

  1. โฟกัสที่ Market Validation มากกว่า Customer Validation - Market Validation คือ การสำรวจและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของตลาดว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรามีศักยภาพในการเติบโตมาแค่ไหน ขณะที่ Customer Validation คือ การเข้าหาลูกค้าเพื่อรับฟีดแบคของสินค้าและบริการว่าเป็นที่ต้องการของตลาดจริงหรือไม่

  2. Market Size - ตลาดสินค้าหรือบริการของคุณมีขนาดใหญ่แค่ไหน

  3. Marketing Plan - มีแผนการตลาดอย่างไรบ้าง

  4. Traction / Milestones -  มีลูกค้าใช้งานจริงหรือไม่ เช่น จำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน หรือ จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ (traction) และมีเป้าหมายอะไรบ้าง (ถ้าข้อข้างบนยังโน้มน้าวนักลงทุนไม่ได้ให้เพิ่มข้อนี้ไป)

  5. Use of Funds - รายละเอียดงบการเงินและการใช้เงิน

ที่มา : LinkedIn

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...