นายกฯ สิงคโปร์ชี้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงของประเทศ

“กระบวนการคิดเชิงออกแบบ” หรือ “Design Thinking” เริ่มกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นเมื่อ 'ลี เซียน ลุง' นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ (ลูกชาย 'ลี กวน ยู') ระบุว่าเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่ผลักดันให้สิงคโปร์ที่เริ่มจากศูนย์กลายเป็นประเทศแถวหน้าของโลก ฝากคนรุ่นใหม่นำ Design Thinking มาใช้กับทุกกระบวนการในการทำงาน

ลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong) นายกรัฐมนตรีประเทศสิงคโปร์ / Photo: ChannelNewsAsia

นักศึกษาจาก Singapore University of Technology and Design (SUTD) มหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบเป็นแห่งที่ 4 ในสิงคโปร์ จัดงานเสวนาในชื่อ SUTD Ministerial Forum 2018 ภายใต้หัวข้อ "A Better Nation By Design"

งานเสวนาดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาและศิษย์เก่าได้ผู้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้บริหารจากรัฐบาลสิงคโปร์ในประเด็นที่มีผลกระทบต่อสิงคโปร์โดยตรง

โดย ลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong) นายกรัฐมนตรีประเทศสิงคโปร์ ได้ขึ้นพูดเพื่อเปิดงานเสวนานี้เป็นครั้งแรกอีกด้วย

นายกฯ สิงคโปร์ได้พูดถึงการสร้าง “กระบวนการคิดเชิงออกแบบ” หรือ “Design Thinking” ที่ดีนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ประเทศสิงคโปร์เปลี่ยนจากประเทศโลกที่สามขึ้นมาเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ของโลก และ Design Thinking มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสิงคโปร์ รวมถึงจะทำให้สิงคโปร์ยังสามารถเป็นประเทศชั้นนำของโลกได้ต่อไป

โดย 'ลี เซียน ลุง' กล่าวถึง 'ลี กวน ยู' อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษของสิงคโปร์ผู้ล่วงลับไป (และยังเป็นบิดาของนายกฯ สิงคโปร์ผู้นี้อีกด้วย) ว่า “สิงคโปร์เป็นชาติที่มาจากการออกแบบหรือ Design ขึ้นมา ไม่มีสิ่งใดในสิงคโปร์ที่เป็นอยู่ในวันนี้ เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติ หรือเกิดขึ้นมาด้วยตัวเอง เช่น การเติบโตของเศรษฐกิจ การยืนอยู่ในแถวหน้าในระดับโลก ความสามัคคีของหลากหลายเชื้อชาติ ซึ่งเชื้อชาติของพวกเราก็ไม่ได้มาจากสิงคโปร์ตั้งแต่แรก”

“ตอนนั้นยังไม่มีคำว่า Design Thinking แต่พ่อของเขาเข้าใจประเด็นต่าง ๆ, กำหนดขอบเขตของปัญหาที่มีอยู่, ออกแบบ-วิธีแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์, ร่างไอเดียต้นแบบขึ้นมา และทบทวนแนวคิด-วิธีแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง”

“นั่นคือสาระสำคัญของ Design Thinking” นายกฯ สิงคโปร์กล่าว

อ่านประกอบ:

นายกฯ สิงคโปร์ยังกล่าวต่อว่า ถึงเวลาที่สร้างและปรับภาพลักษณ์ของประเทศอีกครั้งด้วยการจัดสรรให้เกิดพื้นที่ใหม่ ๆ ในสิงคโปร์ ส่วนพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาแล้วก็จะพัฒนา ใหม่ให้ดียิ่งขึ้น และทันสมัยขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น การย้ายฐานทัพอากาศ 'พายา เลบาร์' (Paya Lebar) ไปอยู่ที่ชางงี (Changi) ที่ลีระบุว่าเป็น “การโยกย้ายที่สร้างความเปลี่ยนแปลงได้” ถึงแม้จะใช้เวลาในการย้ายมากถึง 15 ปี แต่ก็ทำให้ได้พื้นที่คืนมาเพื่อพัฒนาใหม่มากกว่า 8 ตารางกิโลเมตรด้วย

นอกจากนี้การย้ายฐานทัพอากาศในครั้งนี้ ทำให้กฎการจำกัดความสูงของอาคารและสิ่งก่อสร้างในแถบภาคตะวันออกถูกยกเลิกไปด้วย จากเดิมที่ถูกจำกัดความสูงของอาคารเนื่องจากมีฐานทัพอากาศอยู่ในพื้นที่ ซึ่งหลังจากนี้ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้น

“ถึงแม้การโยกย้ายนั้นจะใช้เวลานานถึง 50 ปีหรือมากกว่านั้น แต่มันก็ทำให้เห็นว่ามันเกิดขึ้นได้ นี่เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าไม่มีข้อจำกัดในการจินตนาการสิ่งต่าง ๆ อย่างแท้จริง” เขากล่าว

นายกฯ สิงคโปร์ยังเน้นย้ำเพื่อให้เห็นความสำคัญในการกล้าคิด มองการณ์ไกลในระยะยาว และพัฒนา “แผนเชิงวิสัยทัศน์” หรือ “Visionary Plan” เพื่อให้สิงคโปร์ในปีที่ 50 (SG50) ก้าวสู่สิงคโปร์ปีที่ 100 (SG100) ให้มีสภาพแวดล้อมที่โดดเด่น สร้างเมืองที่มีการวางแผนที่ดี มีเทคโนโลยีขั้นสูง เป็นเมืองสีเขียว และเป็นเมืองที่มีความยั่งยืน

นอกจากนี้เขายังฝากให้นักศึกษานำ “Design Thinking” ในทุกขั้นตอนของการทำงานอีกด้วย

“ในไม่ช้า ก็ถึงตาของพวกคุณที่จะมาวางผัง เขียนร่าง ออกแบบพิมพ์เขียวและแผนแม่บท[ของประเทศ] เพื่อสร้างทางเดินและเส้นขอบฟ้าอันใหม่ต่อไป ผมหวังว่าผมหวังว่าใน Generation ของพวกคุณ คุณจะได้เรียนรู้ทักษะและสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อนำมาออกแบบ สร้าง และบริหารสิงคโปร์ในวันข้างหน้าต่อไป” นายกฯ สิงคโปร์ กล่าว

ดูคลิปที่นายกฯ สิงคโปร์ พูดเต็ม ๆ ได้ที่ YouTube ของ Prime Minister's Office, Singapore (มี Subtitle ภาษาอังกฤษ)

อ้างอิงข้อมูลจาก ChannelNewsAsia , The Strairs Times และ The New Paper

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...