ปตท. เผยผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2564 พลิกมีกำไร 32,588 ล้านบาท หลังมีกำไรจากสต็อกน้ำมัน

กลุ่ม ปตท. เผยผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2564 พลิกมีกำไรสุทธิ 32,588 ล้านบาท และมีรายได้ อยู่ที่ 477,837 ล้านบาท หลังมีกำไรจากสต็อกน้ำมันประมาณ 12,000 ล้านบาท ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มขึ้น 

งบQ1/64 ของ ปตท.

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เผยรายได้ของกลุ่ม ปตท. ในไตรมาส 1 ปี 2564 อยู่ที่ 477,837 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 70,663 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.4 จากไตรมาส 4 ปี 2563  โดยกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ (EBITDA) ในไตรมาส 1 ของปี 2564 อยู่ที่จำนวน 102,997 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31,383 ล้านบาท หรือร้อยละ 43.8 จากไตรมาสก่อน

เนื่องด้วยผลการดำเนินงานของทุกกลุ่มธุรกิจปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น ซึ่งเป็นผลจากราคาปิโตรเลียมและปิโตรเคมีในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้นจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมที่ฟื้นตัวหลังจากการผ่อนคลายมาตรการปิดเมือง (Lockdown) รวมถึงการใช้วัคซีนป้องกัน COVID-19 เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ ส่งผลให้ไตรมาส1/2564 สามารถพลิกกลับมามีกำไรสุทธิ จำนวน 32,588 ล้านบาท จากไตรมาส 1/2563 ที่บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ จำนวน 1,554 ล้านบาท 

โดยไตรมาส 1/2564 บริษัทฯมีกำไรจากสต็อกน้ำมันประมาณ 12,000 ล้านบาท ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาส 4/2563 เทียบกับขาดทุนจากสต็อกน้ำมันประมาณ 32,000 ในไตรมาส 1/2563 ส่งผลให้ Accounting GRM ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.9 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ในไตรมาส 1/2564 จากเดิมที่ขาดทุน 7.6 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ในไตรมาส 1/2563 

คาดปี 2564 ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยอยู่ที่ 60-65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล  

ตามรายงานของ IHS ณ เดือนเมษายน 2564 ความต้องการใช้น้ำมันของโลกใน 2Q2564 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปอยู่ที่ระดับ 95.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังสถานการณ์ COVID-19 ในหลายๆ พื้นที่ค่อยๆ คลี่คลายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศจีน และสหรัฐอเมริกา สําหรับราคาน้ำมันดิบใน 2Q2564 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 64.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปรับเพิ่มขึ้นจาก 1Q2564 ที่ระดับ 60.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยจะไดืรับแรงหนุนจากอุปสงค์น้ำมันโลกที่ทยอยปรับเพิ่มขึ้นจากการใช้วัคซีน COVID-19ในหลายๆ ประเทศ และมาตรการกระตุ้เศรษฐกิจในขณะที่มีแรงกดดันจากอุปทานที่จะปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากกลุ่ม OPEC+ และประเทศซาอุดิอาระเบียจะลดกําลังการผลิตในระดับที่น้อยลงกว่าก่อนหน้า โดยของกลุ่ม OPEC+

จะลดการผลิตลง 6.9, 6.55 และ 6.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และประเทศซาอุดิอาระเบียจะลดกําลังการผลิตลง 1.0, 0.75 และ 0.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน สําหรับเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2564 ประกอบกับผู้ผลิตอื่นๆ นอกกลุ่ม OPEC+ ที่อาจจะกลับมาผลิตหากราคาน้ํามันปรับสูงขึ้น 

ทั้งนี้คาดว่าราคาน้ำมันดิบในปี 2564 จะเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 60-65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และค่าการกลั่นอ้างอิงสิงคโปร์ในปี 2564 คาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 2.0-2.5เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล 



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...

Responsive image

ไทย–อินเดีย จับมือสู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”

ไทย-อินเดียยกระดับสัมพันธ์สู่ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ประกาศความร่วมมือ 6 ฉบับ ครอบคลุมเศรษฐกิจ ดิจิทัล วัฒนธรรม รับมือแรงสั่นสะเทือนจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ และเสริมบทบาทภูมิรัฐศาสตร์ใ...

Responsive image

[ข่าวลือ] Microsoft ชะลอการลงทุน Data Center ในหลายประเทศทั่วโลก

Microsoft ถูกเปิดเผยว่าชะลอหรือหยุดการลงทุนใน Data Center หลายประเทศ ทั้งลอนดอน ชิคาโก อินโดนีเซีย และวิสคอนซิน สะท้อนการทบทวนยุทธศาสตร์ AI และคลาวด์ ข้อมูลจาก Bloomberg...