SCB EIC เผยผลกระทบจาก Trump 2.0 ฉุดเศรษฐกิจไทยปี 2568 เผชิญความท้าทายด้านการค้า การผลิต และการลงทุน

ในปี 2568 โลกจะเริ่มเผชิญกับความท้าทายจากผลของนโยบายเศรษฐกิจภายใต้การนำของประธานาธิบ Donald Trump ที่เรียกว่า “Trump 2.0” ซึ่งถือเป็นการกลับมาใหม่ในเวอร์ชันที่มีอำนาจบริหารที่แข็งแกร่งกว่าเดิม ภายหลังจากการชนะเลือกตั้งครั้งล่าสุด เนื่องจาก Republican sweep ทั้งสภาบนและล่าง ท่ามกลางระบบตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจสหรัฐฯ ที่อ่อนแอลงมาก 

Trump

อย่างไรก็ตาม ทรัมป์จะต้องเผชิญกับบริบทโลกที่แตกต่างจากครั้งก่อนที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในหลายด้าน เช่น เศรษฐกิจโลกที่ยังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูงและดอกเบี้ยที่สูงขึ้น รวมถึงสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ซับซ้อนมากขึ้นจากสงครามในยูเครนและอิสราเอลที่อาจกระทบต่อประสิทธิภาพของนโยบายเศรษฐกิจใหม่ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจสร้างผลกระทบต่อการดำเนินนโยบาย Trump 2.0 ได้

ด้าน SCB EIC จึงออกมาประเมินว่า Trump จะดำเนินนโยบายชุดใหม่อย่างมีกลยุทธ์ โดยเร่งดำเนินนโยบายในประเทศตามที่หาเสียงไว้ แต่อาจไม่ได้ทำนโยบายกีดกันการค้าแบบสุดโต่ง

นโยบายหลักของ Trump 2.0 และผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก

SCB EIC ได้ประเมินว่านโยบาย Trump 2.0 จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในหลายด้าน โดยเฉพาะในด้านการค้า การผลิต และการลงทุน โดยมองว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2568 จะขยายตัวต่ำลงเหลือ 2.5% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.8% จากผลกระทบหลักของนโยบาย Trump 2.0 ดังนี้:

  1. การขึ้นอัตราภาษี: สหรัฐฯ จะขึ้นอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเฉลี่ย 20pp (percentage points) และจากประเทศอื่น ๆ 10pp ซึ่งส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศเกิดความตึงเครียดและทำให้หลายประเทศต้องตอบโต้กลับด้วยการขึ้นภาษีเท่ากัน โดยเฉพาะในกรณีของยุโรปกับจีนจะขึ้นภาษีนำเข้าระหว่างกันเฉลี่ย 10pp ทั้งนี้การขึ้นอัตราภาษีนำเข้าจะแตกต่างกันระหว่างกลุ่มประเทศและประเภทสินค้า 
  2. การปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล: สหรัฐฯ จะทำการต่ออายุการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชบัญญัติ Tax Cut and Job Act (ถึงปี 2577) ซึ่งจะมีผลต่อการขยายตัวของธุรกิจในสหรัฐฯ และกระทบต่อการลงทุนของต่างชาติในสหรัฐฯ
  3. นโยบายควบคุมผู้อพยพ: นโยบายใหม่ที่จะเข้มงวดขึ้นในการควบคุมผู้อพยพอาจสร้างความตึงเครียดในทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะในยุโรป ซึ่งอาจหันมาทำนโยบายคล้าย ๆ กัน
  4. ส่งผลกระทบทั่วโลก: ชุดนโยบายสำคัญ Trump 2.0 จะเริ่มกระทบเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 ถึงระยะปานกลาง 
  5. การกระตุ้นเศรษฐกิจ: ประเทศต่าง ๆ จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบจาก Trump 2.0

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

จากผลของนโยบาย Trump 2.0 ที่จะกดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2568 SCB EIC ได้ปรับมุมมองเศรษฐกิจไทยลดลงเหลือ 2.4% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.6% ซึ่งเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในระบบการค้าโลก โดยเฉพาะจากมาตรการทางภาษีของสหรัฐฯ และการที่ไทยมีการค้ากับจีนและสหรัฐฯ ที่สำคัญ โดย SCB EIC ได้กล่าวถึงผลกระทบในมิติที่สำคัญดังนี้:

  1. การค้ากับจีน: เนื่องจากอัตราภาษีที่สูงขึ้นและการตอบโต้จากประเทศต่าง ๆ จะทำให้ไทยมีแนวโน้มที่จะนำเข้าสินค้าจากจีนมากขึ้น และอาจทำให้การขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยตรง
  2. ปัญหา Unfair Trade กับสหรัฐฯ: ไทยมีแนวโน้มที่จะเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอาจทำให้ไทยถูกจับตามองในเรื่องของ Unfair trade และอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการดำเนินนโยบายตอบโต้จากสหรัฐฯ
  3. การลงทุนภาคเอกชน: สำหรับการลงทุนภาคเอกชนไทยในระยะข้างหน้าจะมีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มขึ้นจากความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของ Trump 2.0 ซึ่งจะทำให้ธุรกิจที่ต้องการย้ายฐานการผลิตจากจีนชะลอแผนการลงทุนเพื่อรอความชัดเจนของนโยบาย Trump ที่อาจขยายนโยบายกีดกันการค้าไปกลุ่มประเทศอื่น ๆ ด้วย และอัตราภาษีนำเข้าที่จะเก็บเพิ่มยังมีความไม่แน่นอนสูง ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยจะมีนโยบายการคลังที่คาดว่าจะทยอยออกมากระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยบรรเทาผลกระทบจาก Trump 2.0 ได้บางส่วนในปีหน้า  

นโยบายเศรษฐกิจไทยในปี 2568

แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากนโยบาย Trump 2.0 แต่ SCB EIC ยังเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในปีหน้าอาจได้รับการกระตุ้นจากการใช้จ่ายภาครัฐและมาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง รวมถึงการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัวจากการเพิ่มขึ้นของการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวรัสเซียและอินเดีย ที่มีโอกาสสูงกว่า 36 ล้านคนที่เคยประเมินไว้

คาดการณ์การปรับอัตราดอกเบี้ย

SCB EIC ประเมินว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบ ธ.ค. นี้ ตามการสื่อสารของ กนง. ที่เน้นรักษา Policy space เพื่อบริหารความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจการเงินไทยในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดี SCB EIC ประเมินว่า กนง. จะปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% อีกครั้งในการประชุมรอบเดือน ก.พ. 2568 เพื่อผ่อนคลายภาวะการเงินเพิ่มเติม เนื่องจากเศรษฐกิจโดยรวมและสินเชื่อยังคงชะลอตัวและเริ่มสร้างความกังวลมากขึ้น รวมทั้งเศรษฐกิจไทยจะมีความเสี่ยงด้านลบเพิ่มขึ้นจากนโยบาย Trump 2.0 ขณะที่ภาวะการเงินโลกในปีหน้าจะผ่อนคลายลงจากปีนี้ได้บ้าง ตามทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลัก ซึ่งจะเอื้อต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย 

เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าเร็วจากดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นหลังการเลือกตั้งสหรัฐฯ โดยอาจอ่อนค่าไปอยู่ที่ราว 34.80-35.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงที่เหลือของปีนี้ หลังตลาดประเมินว่า Trump จะขึ้นภาษีนำเข้า และประเทศอื่น ๆ อาจตอบโต้กลับ ซึ่งจะทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นอีกราว 3-4% และกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าต่อ สำหรับปี 2568 เงินบาทอาจกลับมาแข็งค่าขึ้นจากภาวะ Risk-on ที่จะทำให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลกลับเข้าตลาดเอเชียและไทย รวมถึงทิศทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยมองกรอบเงินบาทอยู่ที่ราว 33-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี 2568  

อ้างอิง SCB EIC

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...

Responsive image

ไทย–อินเดีย จับมือสู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”

ไทย-อินเดียยกระดับสัมพันธ์สู่ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ประกาศความร่วมมือ 6 ฉบับ ครอบคลุมเศรษฐกิจ ดิจิทัล วัฒนธรรม รับมือแรงสั่นสะเทือนจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ และเสริมบทบาทภูมิรัฐศาสตร์ใ...

Responsive image

[ข่าวลือ] Microsoft ชะลอการลงทุน Data Center ในหลายประเทศทั่วโลก

Microsoft ถูกเปิดเผยว่าชะลอหรือหยุดการลงทุนใน Data Center หลายประเทศ ทั้งลอนดอน ชิคาโก อินโดนีเซีย และวิสคอนซิน สะท้อนการทบทวนยุทธศาสตร์ AI และคลาวด์ ข้อมูลจาก Bloomberg...