SCB เป็นทุกอย่างเพื่อ Developer เปิด Open API หวังเพิ่มลูกค้าให้ธนาคาร

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ประกาศเปิด SCB Banking API หรือ Open API ทลายกำแพงระหว่าง Developer และผู้ต้องการพัฒนาระบบกับธนาคาร ผ่านเว็บ https://developer.scb ต้องการต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่จะดึงลูกค้ามาใช้บริการของ SCB มากขึ้น

คุณธนา โพธิกำจร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงาน Digital Platforms ธนาคารไทยพาณิชย์ เล่าว่า แนวคิดเรื่องของการเปิด Open API นั้นมีมานานแล้ว โดยก่อนหน้านี้ SCB ได้เปิด API เชื่อมต่อกับบริษัทใหญ่ๆ เช่น Lazada ซึ่งที่ผ่านมาการเปิด API แต่ละครั้งใช้เวลานาน และมองว่ายังมีอีกหลายบริษัทที่ต้องการเชื่อมต่อกับ SCB แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร นี่จึงเป็นก้าวแรกที่คนภายนอกสามารถเข้ามาเชื่อมต่อกับธนาคารได้ และสิ่งสำคัญที่สุดของการดำเนินธุรกิจธนาคารในโลกดิจิทัล คือ การสร้างระบบนิเวศน์ (ecosystem) ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ซึ่งในเวลานี้ ยังมองแค่การเชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ในส่วนของ Business Model อื่นๆ นั้นเป็นเรื่องในระยะยาว

"SCB ต้องการไปอยู่ในที่ๆไม่เคยเข้าถึง โจทย์สำคัญคืออยากจะปล่อยบริการเพื่อให้พันธมิตรและ Dev เข้ามาใช้ ทำให้คนเข้ามาใช้บริการกับระบบการเงินได้เยอะขึ้น เป็นลูกค้า SCB เยอะขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้บริหารให้ความสำคัญมาก"

คุณธนา กล่าวว่า ลูกค้ามองหาบริการที่ตอบโจทย์ทั้งเรื่องของความปลอดภัย และความง่ายของการใช้งาน และ ความรวดเร็ว เช่น การซื้อประกันการเดินทางผ่านช่องทาง SCB Easy โดยเป็นความร่วมมือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันของ ธนาคารกับพันธมิตร ทำให้ลูกค้าสามารถซื้อบริการได้ง่าย โดยไม่ต้องกรอกเอกสารให้ยุ่งยาก ธนาคารจะดำเนินการส่งข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการซื้อบริการ ในขณะเดียวกันลูกค้าก็สามารถชำระเงินเพื่อซื้อประกันได้ในทีเดียว และเพื่อให้ผู้พัฒนา แอปพลิเคชั่นสามารถต่อยอดทางความคิดของแอพพลิเคชั่นตัวเองได้ ธนาคารไทยพาณิชย์จึงเป็นธนาคารไทยแห่งแรกที่เปิด

"การเปิด API ให้ผู้พัฒนาระบบมาเชื่อมต่อนั้น ทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อครอบคลุมอุตสาหกรรมที่หลากหลายขึ้น ทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของบริษัทต่างๆ สามารถเข้าถึงบริการให้ง่ายและรวดเร็วขึ้น นั่น หมายความว่าธนาคารสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขึ้น และรวดเร็วขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะเป็นการช่วยยกระดับการให้บริการต่างๆ จากการเรียนรู้ถึงความต้องการ และการใช้งานจริงของลูกค้าได้ดีอีกด้วย" คุณธนา กล่าว

ช่องทางการเข้าถึง API กับ SCB

Developer สามารถเชื่อมต่อผ่าน https://developer.scb โดยเปิด API ให้ดังนี้ Loan origination, Payment, OR Payment, Sharing Customer Profie, Authentication (OAuth 2.0) และกำลังอยู่ในช่วงพัฒนาอีกหลายบริการ นอกจากนี้ยังมี Simulator app ของทางธนาคารเพื่อให้ผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่นสามารถทดสอบได้ครอบคลุมทุกกรณี โดยที่ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นจะสามารถทดสอบอยู่บนพื้นที่ที่ทางธนาคารกำหนดไว้ (Sandbox Environment) ได้ทันที

พร้อมจัด Hackathon ค้นหาไอเดีย

นอกจากการเปิด Open API แล้ว  ยังมีการจัด Hackathon เพื่อระดมหาไอเดียๆใหม่ โดยคุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร หัวหน้าทีม SCB 10X กล่าวว่า

“หลายๆคนมองว่า Bank เป็นระบบที่ปิดมาก แต่เราเปิด API และ คาดหวังว่าจะให้อุตสาหกรรมต่างๆออกมาทำสิ่งเหล่านี้ สำหรับงาน Hackathon นั้นมองว่าข้างนอกมีคนเก่งมากมาย แต่เขาอยากจะสร้างของดีดีๆ คือสิ่งที่ SCB อยากชวนมาพัฒนา ภายในธีม The Bank is Your”

คุณกวีวุฒิยังเผยว่า การเปิด Open API สิ่งสำคัญคือการ ทดลอง เรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน จนนำไปสู่การร่วมกันคิดค้น และพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการทางการเงินร่วมกัน เพื่อส่งมอบประสบการณ์ต่อไป

Open Banking Hackathon by SCB  จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-23 มิถุนายน 2562 ที่ Nap Lab Chula โดยเปิดโอกาสให้นักพัฒนา ไม่จำกัดว่าจะเป็น Software Engineer สาขา Web Application หรือ Mobile Developer ก็สามารถมาร่วมแร่งขันทันได้ โดยสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 พ.ค.  2562 จำกัดจำนวน  120 คน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...