เปิดไทม์ไลน์ นำหุ้นของ SCBx เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย แทนหุ้นของธนาคาร SCB

ขั้นตอนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่ม SCB และการนำหุ้นของบริษัท เอสซีบี เอกซ์ ( SCBx ) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แทนหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)

scbx

  • วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น (EGM) เพื่ออนุมัติการปรับโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจโดยอนุมัติให้ดำเนินการแลกหุ้นจาก “SCB” เป็น “SCBx” และนำหุ้น “SCBx” เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แทนหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ “SCB”

  • มกราคม-กุมภาพันธ์ 2565 ผู้ถือหุ้นทำคำตอบรับการเสนอซื้อหลักทรัพย์ (Tender Offer) จากบริษัท SCBx  (1 หุ้น SCB ต่อ 1 หุ้น SCBx ) โดยผู้ถือหุ้นต้องตอบรับคำเสนอซื้ออย่างน้อย 90%

  • มีนาคม 2565 หุ้น “SCBx” เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (ตลท.) และเพิกถอนหุ้น “SCB” ในวันเดียวกัน

  • มิถุนายน 2565 SCB จ่ายเงินปันผลให้ “SCBx” จำนวน 70,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดำเนินการดังต่อไปนี้

  • นำไปซื้อกิจการบางส่วนจากธนาคารตามแผนปรับโครงสร้างของกลุ่ม

  • นำไปลงทุนในกิจการใหม่ๆ ตามแผนงานของกลุ่ม

  • นำไปใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจของ “SCBx”

  • นำไปจ่ายเงินปันผลตามผลประกอบการและนโยบายของกลุ่ม

ในกรณีที่มีผู้ตอบรับคำเสนอซื้อ Tender Offer มากกว่า 90% ผู้ที่ไม่ตอบรับคำเสนอซื้อจะยังคงถือหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ซึ่งจะถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ และจะเสียสิทธิที่พึงได้จากการเป็นบริษัทหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...