สิงคโปร์จัดหนักมิจฉาชีพ เตรียม ‘เฆี่ยน’ แก๊งหลอกโอนเงิน หลังยอดโกงทะลุ 1 พันล้าน SGD ในปีเดียว

มิจฉาชีพ แก๊งคอลเซนเตอร์ หลอกโอนเงิน บัญชีม้า สิงคโปร์เตรียมใช้โทษเฆี่ยนลงโทษอาชญากรรมประเภทสแกม (scam) เนื่องจากอาชญากรรมประเภทนี้สร้างความเสียหายรุนแรง และในปี 2024 มูลค่าความเสียหายจากการโกงสูงเป็นประวัติการณ์

ทำไมเลือกใช้โทษเฆี่ยน ?

ดร.ตัน อู๋ เมิ่ง เสนอใช้โทษเฆี่ยนกับอาชญากรรมประเภทนี้ เธอระบุว่า ปัจจุบันบทลงโทษหนักของคดีโกงคือ โทษจำคุก แต่ทว่าอาชญากรรมเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประชาชนอย่างมาก  โดย ดร.ตัน ยกตัวอย่างเคสของผู้หญิงคนหนึ่งที่ถูกหลอกจนเสียเงินเก็บทั้งชีวิต ส่งผลให้เธอเสี่ยงล้มละลายและอาจตกงาน 

นอกจากนี้ ดร.ตัน ยังตั้งข้อสังเกตว่าปัจจุบัน โทษสำหรับแก๊งเงินกู้นอกระบบ (loan shark) กับแก๊งโกงเงิน (scammer) มีความแตกต่างกันมาก

ถ้าเป็นคนช่วยแก๊งเงินกู้นอกระบบ

  • โดนปรับสูงสุด 300,000 ดอลลาร์สิงคโปร์
  • จำคุกสูงสุด 4 ปี
  • โดนเฆี่ยนสูงสุด 6 ครั้ง

แต่ถ้าเป็นแก๊งโกงเงินออนไลน์

  • ไม่มีโทษเฆี่ยนเลย แม้จะขโมยเงินได้มากกว่าหลายเท่า

ซึ่งเห็นได้ชัดว่า คนที่ช่วยแก๊งปล่อยเงินกู้ผิดกฎหมาย แค่โอนเงิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ก็อาจถูกเฆี่ยน แต่พวกแก๊งโกงออนไลน์ ที่โกงเงินเหยื่อ 100,000 ดอลลาร์สหรํฐฯ กลับไม่ถูกเฆี่ยน จนเกิดคำถามว่า กฎหมายปัจจุบันเข้มงวดกับพวกโกงเงินเพียงพอหรือไม่ ? และยืนยันว่า ต้องมีบทลงโทษที่แรงพอจะทำให้พวกนี้เกรงกลัว "ถ้ามาโกงเงินคนสิงคโปร์ ก็ต้องเจอบทลงโทษที่สาสม" ดร.ตัน กล่าว

ยอดเงินถูกโกงพุ่งทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในปีเดียว

จากรายงานของตำรวจสิงคโปร์เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2024 พบว่า ความเสียหายจากการหลอกลวงในปีที่ผ่านมาสูงถึง 1.1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เป็นครั้งแรกที่ยอดความเสียหายจากการหลอกลวงทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์ในปีเดียว 

โดยนับตั้งแต่ปี 2019 ประชาชนสูญเสียเงินจากการหลอกลวงรวมกันกว่า 3.4 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์

เพื่อรับมือกับปัญหานี้ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2024 คณะกรรมการให้คำแนะนำด้านโทษ (Sentencing Advisory Panel) ได้เสนอให้เพิ่มโทษจำคุกขั้นต่ำ 6 เดือนสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางโอนเงินให้แก๊งหลอกลวง ซึ่งเข้มงวดกว่ากฎปัจจุบันที่ให้เลือกลงโทษเป็นค่าปรับหรือจำคุก

ปิดช่องโหว่การโกงผ่านโทรศัพท์และออนไลน์

ซัน ซวี่หลิง รัฐมนตรีประจำกระทรวงมหาดไทย เผยว่า ทางการได้ใช้มาตรการป้องกันการใช้ ซิมการ์ดปลอม ที่ถูกใช้ในแก๊งโกงเงินเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับจากทางการ

ตั้งแต่ 1 มกราคม 2024 เป็นต้นมา มีกฎหมายใหม่ที่กำหนดให้ การลงทะเบียนซิมการ์ดเพื่อขายต่อ การถือซิมการ์ดจำนวนมากโดยไม่มีเหตุผล หรือการขายซิมการ์ดที่จดทะเบียนในชื่อคนอื่นเป็นเรื่องผิดกฎหมาย

หากซิมการ์ดถูกนำไปใช้ก่ออาชญากรรม ผู้กระทำผิดอาจถูกจำคุกสูงสุด 3 ปี ปรับสูงสุด 10,000 ดอลลาร์ หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากนี้ ในปี 2025 กระทรวงมหาดไทยจะเข้มงวดกับ money mule มากขึ้น โดยจะให้ตำรวจแชร์ข้อมูลกับธนาคารเกี่ยวกับบัญชีที่มีพฤติกรรมน่าสงสัย เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินสามารถตรวจสอบบัญชีอื่นที่เกี่ยวข้องได้

Telegram แหล่งรวมมิจฉาชีพ สิงคโปร์เตรียมกดดันให้เข้มงวดขึ้น

รัฐบาลสิงคโปร์กำลังเพิ่มแรงกดดันให้ Telegram ออกมาตรการเข้มงวดขึ้นในการป้องกันการโกงเงินและอาชญากรรมออนไลน์ หลังพบว่ามิจฉาชีพใช้แพลตฟอร์มนี้เป็นช่องทางหลอกลวงเหยื่อ โดยอาศัยฟังก์ชันปิดบังตัวตน

นางซัน ซวี่หลิง รัฐมนตรีประจำกระทรวงมหาดไทย แสดงความกังวลเกี่ยวกับ การที่ Telegram กลายเป็นแหล่งรวมมิจฉาชีพ โดยในปี 2024 จำนวนคดีโกงผ่านแพลตฟอร์มนี้ เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า จึงได้มีการเรียกร้องให้ Telegram ออกมาตรการตรวจสอบตัวตนที่เข้มงวดขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพสร้างบัญชีใหม่ได้ง่ายๆ และใช้แพลตฟอร์มเป็นช่องทางก่ออาชญากรรม

หาก Telegram ยังไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง รัฐบาลสิงคโปร์อาจใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อบังคับให้แพลตฟอร์มให้ความร่วมมือ "ไม่ใช่แค่สิงคโปร์ที่เจอปัญหานี้ Telegram ถูกใช้เป็นช่องทางแพร่กระจาย ยาเสพติดและสื่อลามกที่ไม่ได้รับอนุญาต ในหลายประเทศถ้าจำเป็นสิงคโปร์อาจต้องใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดเพื่อปกป้องประชาชน" 

รัฐบาลยังคงจับตาดูแพลตฟอร์มนี้อย่างใกล้ชิด และพร้อมดำเนินการหากพบว่ามีการใช้ Telegram เป็นเครื่องมือก่ออาชญากรรมที่สร้างความเสียหายให้กับประชาชนสิงคโปร์

สิงคโปร์คุมเข้มแพลตฟอร์มออนไลน์และอีคอมเมิร์ซ หลังพบปัญหาเพจปลอมและมิจฉาชีพระบาด

ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2024 รัฐบาลสิงคโปร์ได้ออกกฎระเบียบใหม่ เพื่อบังคับให้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียและอีคอมเมิร์ซ ต้องเพิ่มมาตรการป้องกันการโกงเงิน หลังจากพบว่ามิจฉาชีพใช้ช่องทางออนไลน์ในการหลอกลวงประชาชนมากขึ้น

มาเรียม จาฟาร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากเขต เซมบาวัง เปิดเผยว่า Facebook ปฏิเสธที่จะลบเพจปลอมที่แอบอ้างเป็นเธอ โดยให้เหตุผลว่าไม่ได้มีการละเมิดนโยบายของแพลตฟอร์ม "ประชาชนแจ้งว่าพวกเขาได้รับข้อความจากเพจปลอมของฉัน ขอข้อมูลส่วนตัว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล" พร้อมตั้งคำถามว่าแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ความร่วมมือเพียงพอหรือไม่ในการจัดการปัญหานี้

ซัน ซวี่หลิง รัฐมนตรีประจำกระทรวงมหาดไทย ระบุว่า แพลตฟอร์ม Carousell และ Meta (บริษัทแม่ของ Facebook) ได้เริ่มใช้มาตรการตรวจสอบตัวตนที่เข้มงวดขึ้น โดยเฉพาะกับ ผู้ขายที่มีความเสี่ยงสูง

ผลลัพธ์ที่ได้คือ อัตราการโกงลดลง ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2024

  • บน Carousell ลดลง 10%
  • บน Facebook Marketplace ลดลง 60%

รัฐบาลยืนยันว่าจะยังคงใช้มาตรการที่เข้มงวดเพื่อป้องกันมิจฉาชีพ เพราะอาชญากรเหล่านี้มีเครือข่ายขนาดใหญ่ และปรับเปลี่ยนกลโกงอยู่ตลอดเวลา

ซัน ซวี่หลิง กล่าวว่า รัฐบาลจะดำเนินการเชิงรุกเพื่อต่อสู้กับการโกงออนไลน์ และเตรียมออกมาตรการเพิ่มเติม หากแพลตฟอร์มออนไลน์ยังไม่ให้ความร่วมมือมากพอในการป้องกันอาชญากรรมบนโลกดิจิทัล

อ้างอิง: straitstimes

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...