Sony จับมือกลุ่มเทค เข้า C2PA ตั้งเป้าควบคุม Deepfake

เหล่า Big Tech ได้จัดตั้งสมาคม C2PA ควบคุม Deepfake เมื่อปีที่แล้ว และล่าสุด Sony ได้จับมือเข้าร่วมโดยใช้เทคโนโลยีที่พัฒนามาร่วมปี หวังช่วยพัฒนาให้ทุกแพลตฟอร์มรู้เท่าทัน Deepfake 

deepfakeสมาคมพิเศษนี้รวมตัวกันในนาม the Coalition for Content Provenance and Authenticity (C2PA) ซึ่งกลุ่มกำลังพัฒนามาตรฐานร่วมกันโดยมีจุดประสงค์เพื่อทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ได้ทุกชนิดในการพิสูจน์เนื้อหาที่ปลอมแปลง

โดยพันธมิตรนี้ครอบคลุมทั้งผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ชิป กล้อง และโซเชียลมีเดีย นอกจาก Sony แล้วสมาคมนี้ยังประกอบไปด้วย Adobe, Microsoft, Intel, Twitter, the BBC และผู้ผลิตชิปอย่าง Arm เป้าหมายเพื่อสร้างมาตรฐานในการตรวจสอบรูปภาพและวิดีโอที่แชร์ทางออนไลน์ เนื่องจากคอนเทนต์ปลอมแปลงมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิด Deepfake ซึ่งก็คือการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมาบิดเบือนข่าวสาร อย่างการใช้ A.I. สร้างคลิปปลอมได้อย่างแนบเนียน และลามไปถึงวาทกรรมคุกคามในที่สาธารณะ

ตัวอย่างล่าสุดของวิดีโอ Deepfake ที่โด่งดังคงหนีไม่พ้นวิดีโอของปธน.ยูเครน Volodymyr Zelenskyy ประกาศให้กองทัพยอมจำนนถูกแชร์อย่างแพร่หลาย 

ทั้งนี้ สมาคม C2PA ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้ข้อมูลแต่ละชนิดสร้าง "provenance" เพื่อพิสูจน์แหล่งที่มาของข้อมูล รูปภาพหรือวิดีโอ โดยเข้ารหัส "Cryptographically bound" กับเนื้อหาในลักษณะที่แสดงให้เห็น เมื่อมีคนเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือปลอมแปลงข้อมูล รหัสนี้จะสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงได้

อ้างอิง nikkei

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...