EIC ชี้เศรษฐกิจไทยปีหน้าต้องเตรียมรับมือ "สงครามการค้าจีน-สหรัฐ"

Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เปิดเผยแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2561 โต 4.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเศรษฐกิจในปี 2562 ระบุโตน้อยกว่าปีก่อน เนื่องจาก สงครามการค้า-เศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่ดีกว่าในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ส่วนภาคการท่องเที่ยวไทยเผชิญหน้ากับสนามบินที่เริ่มรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวได้ไม่พอ Photo: Pixabay

ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เปิดเผยแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2561 โดยประเมินเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2561 และปี 2562 โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

เศรษฐกิจโตน้อยกว่าปีก่อน แต่ดีกว่าในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

ภาวะเศรษฐกิจในช่วงปี 2561 EIC ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 4.5 เปอร์เซ็นต์ YOY (เมื่อเทียบกับปี 2560) โดยได้รับแรงส่งจากอุปสงค์ด้านต่างประเทศอย่างต่อเนื่องทั้งการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว ซึ่งเริ่มส่งผลดีต่อรายได้และการจ้างงานชัดเจนขึ้น

การเติบโตดังกล่าวยังมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปในช่วงที่เหลือของปีนี้ แม้จะชะลอลงบ้างตามปัจจัยอื่นๆ ในปีก่อนหน้า และการชะลอลงของภาวะการค้าโลก

สำหรับปี 2562 EIC ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 4 เปอร์เซ็นต์ YOY (เมื่อเทียบกับปี 2561) ชะลอลงจากปีก่อนหน้า แต่ยังถือว่าเป็นอัตราที่สูงสาหรับเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับช่วง 5 ปีก่อนหน้าที่เติบโตเฉลี่ยต่ากว่า 3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

สงครามการค้า-เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ปัจจัยปรับค่าคาดการณ์ปีหน้า

ดร.ยรรยงระบุว่าสองสาเหตุสำคัญที่ทำให้การประมาณการณ์เศรษฐกิจในไทยช่วง 4 เดือนของปี 2561 และปี 2562 ลดลงมีสองปัจจัยสำคัญ คือ (1) สงครามการค้า (Trade War) ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา และ (2) เศรษฐกิจโลกชะลอตัว

โดย EIC ระบุว่าปัจจัยแรก อย่างสงครามการค้า (Trade War) หลังจากนี้จะมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จะไม่จบง่ายๆ และยังเจรจากันไม่ได้ แต่เหตุผลสำคัญอาจเป็นเพราะจีนคือผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลก ทำให้สหรัฐฯ มองว่าจีนคู่แข่งระยะยาวจึงดำเนินมาตรการบางอย่างเพื่อตอบโต้

โดยก่อนหน้านี้ ได้ปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนไป 2 รอบ มูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเตรียมปรับขึ้นรอบ 3 มูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยอาจจะดำเนินการหลังการเลือกตั้งสหรัฐฯ กลางเทอมเพื่อเอาใจผู้ลงคะแนนก่อน

ส่วนปัจจัยที่สองอย่างสภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เศรษฐกิจโลกจะเติบโตในอัตราที่ชะลอลงที่ 3.7 เปอร์เซ็นต์ ลดลงจากประมาณการรอบก่อนที่ 3.9 เปอร์เซ็นต์ ทั้งในปีนี้และปีหน้า จากปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากสงครามการค้าตามที่กล่าวไปในข้อแรก และปริมาณการนำเข้ารวมของโลกที่ลดลงจากตลาดใหญ่ๆ ประกอบ

นักท่องเที่ยวจีนลดลง แต่ได้นักท่องเที่ยวมาเลเซียมาแทนเล็กน้อย

ส่วนภาคการท่องเที่ยว EIC มองว่าเติบโตได้ดีในช่วง 8 เดือนแรกของปี แต่ในช่วง 4 เดือนข้างหน้าจะเติบโตจะช้าลง เนื่องจากได้ผลกระทบจากเหตุการณ์ในภูเก็ต

เมื่อเจาะตัวเลขของนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไปดู โดยเปรียบเทียบข้อมูลในเดือนกรกฎาคม 2560 กับเดือนสิงหาคม 2561 มีอัตราการขยายตัวช้าลง โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ลดลงไป 6 เปอร์เซ็นต์ แต่ในขณะเดียวกัน

ดร.ยรรยง ระบุเพิ่มเติมว่า ถึงแม้จะเสียนักท่องเที่ยวจีนไป แต่ก็ได้นักท่องเที่ยวจากมาเลเซียเข้ามามากขึ้นเนื่องจากประเทศมาเลเซียเองก็มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ประกอบกับตรงกับวันหยุดประจำชาติของมาเลเซีย จึงมีตัวเลขนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมา

นอกจากนี้ EIC ยังระบุว่า ความหนาแน่นของสนามบินที่มีมากขึ้นจะกดดันการขยายตัวของนักท่องเที่ยวในอนาคต โดยเฉพาะปริมาณการใช้งานรันเวย์ที่เริ่มตึงตัว ซึ่งโครงการพัฒนาสนามบินนั้นรัฐบาลก็ดำเนินการอย่างต่อเนื่องแต่ไม่ทันสำหรับการใช้งานในปี 2562 จึงถือเป็นความท้าทายของรัฐบาลหลังจากนี้ด้วย

แรงงานทำงานน้อยลง ทำ OT ก็น้อยลง

EIC ยังเปิดเผยตัวเลขเกี่ยวกับตลาดแรงงาน มีหลายตัวที่น่าสนใจ โดยตัวแรกสุดได้เปิดเผยว่า จำนวนชั่วโมงทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ในตลาดแรงงานไทยมีจำนวนลงลดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงสัดส่วนผู้ที่ทำงานล่วงเวลาหรือ OT จากเดิมมีจำนวน 1 ใน 3 ของผู้มีงานทั้งหมด ปัจจุบันเหลือเพียง 1 ใน 5 ของผู้มีงานทั้งหมดเท่านั้น

รวมถึงยังมีสัดส่วนของผู้ที่ว่างงานนานกว่า 6 เดือนเพิ่มมากขึ้นในระยะหลัง ซึ่งอาจเกิดมาจากทักษะที่ไม่สอดคล้องกับงานที่ทำอยู่ (Skill Mismatch) ซึ่งมองว่าอาจจะทำให้เกิดการว่างงานในระยะยาว รวมทั้งบางส่วนอาจตัดสินใจออกจากตลาดแรงงานเพื่อไปทำอย่างอื่น เช่น ศึกษาต่อ หรือทำธุรกิจส่วนตัว เป็นต้น

ประกอบกับมีเปอร์เซ็นต์ที่แรงงานของไทยกลับเข้าสู่ระบบลดน้อยลงต่อเนื่อง โดยในปี 2555 มีอยู่ที่ 72.28 เปอร์เซ็นต์ แต่พอดูตัวเองในปี 2559 ลงลงเหลือ 69.79 เปอร์เซ็นต์ และปี 2560 มีอยู่ที่ 68.04 เปอร์เซ็นต์

รวมถึงยังพบว่าแรงงานอายุมากเริ่มมีสัดส่วนที่มากขึ้น จากกราฟจะเห็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจากข้อมูลยังระบุด้วยว่ากลุ่มแรงงานที่มีอายุมากจะมีอัตราการเติบโตของค่าจ้างที่น้อยกว่ากลุ่มอายุน้อยอีกด้วย

มุมมองและข้อเสนออื่นๆ จาก EIC

  • การใช้จ่ายด้านการลงทุนในประเทศจะมีการขยายตัวที่เร่งขึ้นนำโดยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะสั้น และสนับสนุนการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของไทยในระยะยาว
  • เศรษฐกิจจำเป็นต้องขยายตัวได้ดีและต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่งก่อนจะเห็นอุปสงค์ส่วนเกิน (Slack) ในตลาดแรงงานลดลง ซึ่งจะทำให้ค่าแรงเร่งตัวขึ้น ทั้งนี้ ในระยะยาวต้องมีการยกระดับผลิตภาพของแรงงานไทยผ่านการเพิ่มทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนให้รายได้ขยายตัวได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
  • ประเมินว่า แม้เสถียรภาพเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและสภาพคล่อง ที่ยังมีอยู่มากในระบบการเงินของไทยจะเป็นตัวกันชนที่ช่วยลดผลกระทบจากภาวะการเงินโลกที่ตึงตัวขึ้นและความผันผวนของตลาดการเงินโลกที่มีต่อเศรษฐกิจไทยได้ระดับหนึ่ง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Outlook ไตรมาส 4/2018

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...