Krungthai COMPASS คาด ปี 2568 จะเป็นปีแห่งจุดพลิกผันสำคัญของไทย แม้ GDP จะโตขึ้น มี 5 เรื่องใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต้องเร่งปรับตัว

ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ออกรายงานประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2568 โดยคาดการณ์ว่า GDP จะเติบโตขึ้น 2.7% จากปัจจัยด้านการลงทุนของภาคเอกชน มาตรการของรัฐ รวมถึงการท่องเที่ยวที่กำลังจะกลับมาบูมอีกครั้ง 

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยข้อมูลของศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ที่ระดับ 2.7% จากแรงกดดันของสงครามการค้าที่กลับมาเร่งตัว ซึ่งถือว่าชะลอตัวลงจากปีก่อน 

ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสงครามการค้าที่ดุเดือดขึ้น และเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน ทำให้ภาคการส่งออกของไทยอาจโตแค่ 2% โดยในช่วงครึ่งปีหลังไทยจะเจอแรงกดดันจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ และสินค้าล้นตลาดของประเทศจีน

ขณะที่ภาคการท่องเที่ยว จะเป็นหัวใจหลักของเศรษฐกิจไทยปีนี้ โดยคาดว่านักท่องเที่ยวจะกลับมามีจำนวน 39 ล้านคนใกล้เคียงกับระดับก่อนโควิด-19 เช่นเดียวกับภาคเอกชนที่จะกลับมาขยายตัวจากแนวโน้มการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจแห่งอนาคต

ส่วนทางฝั่งของภาครัฐจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนบับสนุนเศรษฐกิจ ด้วยมาตรการที่ทยอยดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกของปีทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจเฟส 2 และเฟส 3 รวมถึงมาตรการ Easy E-receipt

อย่างไรก็ดี Krungthai COMPASS มองว่าปี 2568 จะเป็นปีแห่งจุดพลิกผันสำคัญ (Inflection Point) ของเศรษฐกิจไทย โดยมี 5 ความท้าทายที่ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วน ได้แก่

1.สงครามการค้ารอบใหม่ : สินค้าส่งออกไทยที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ สูงเสี่ยงได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าอุตสาหกรรมที่อาจถูกเก็บภาษีนำเข้า 40%-60%

2.เศรษฐกิจนอกระบบขนาดใหญ่ : คิดเป็นสัดส่วนราว 48% ของ GDP ทำให้จำเป็นต้องเร่งผันเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ในระบบมากขึ้น 

3.อุตสาหกรรมยานยนต์ภายใต้ Perfect Storm : รถยนต์สันดาปกลับไปสู่ยุครุ่งเรืองยาก ยอดผลิตรถยนต์ของไทยช่วงปี 2568-69 อาจอยู่ที่ 1.47-1.53 ล้านคัน/ปี ลดลงจากค่าเฉลี่ยในอดีต 15% ซึ่งเป็นผลมาจากกำลังการซื้อที่น้อยลง กระแส EV ที่มาแรง และการแข่งขันด้านราคา

4.การสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ (Man-made Destination) : ไทยต้องดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ๆ และเพิ่มรายได้ให้สะพัดมากขึ้น โดยคาดว่า Man-made Destination ของไทยในปี 2588 จะอยู่ที่ราว 58,300 บท/คน/mริป 

5.การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่รั้งเศรษฐกิจไทย : เช่น ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในระดับสูง หนี้ครัวเรือนที่เมื่อรวมกับหนี้นอกระบบแล้วสูงถึง 104% ของ GDP พร้อมกับต้องเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับผู้กระกอบการให้ทันต่อกระแสโลก และลดอุปสรรคในการทำธุรกิจ


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...