พ.ร.บ.อากาศสะอาด คืออะไร ? ในวันที่สิทธิขั้นพื้นฐานเป็นของประชาชน

"หมอกจางจางและควัน คล้ายกันจนบางทีไม่อาจรู้" เนื้อหาเพลงท่อนนี้ คงจะสะท้อนสภาพอากาศในขณะนี้ของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี เพราะด้วยปัญหา “มลพิษทางอากาศ” (Air Pollution) ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างปัญหาฝุ่น PM 2.5 ถือเป็นวิกฤติการณ์ที่กำลังทวีความร้ายแรงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จนทำให้กรุงเทพฯ ไต่ขึ้นอันดับ 3 เมืองอากาศแย่ที่สุดในโลก รวมทั้งมีพื้นที่อันตรายทั่วกรุงถึง 70 จุด 

พ.ร.บ.อากาศสะอาด

จึงได้มีการเรียกร้องให้เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญ และได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม
ส่งผลให้ "พ.ร.บ.อากาศสะอาด" กลับมาเป็นจุดสนใจอีกครั้ง

โดย "เครือข่ายอากาศสะอาด" ประเทศไทย เป็นกลุ่มที่ริเริ่มร่วมกันพัฒนาเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยขจัดปัญหาเหล่านี้ซึ่งก็คือ การจัดทำร่าง พ.ร.บ.กำกับดูแลการจัดการอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพแบบบูรณาการ พ.ศ.…. (เรียกย่อๆ ว่า พ.ร.บ.อากาศสะอาด) ขึ้น ดังนั้นพ.ร.บ.ฉบับนี้ กำหนดให้สิทธิที่จะหายใจในอากาศสะอาดเป็นสิทธิของประชาชนทุกคน รัฐมีหน้าที่ต้องรับรอง ปกป้อง และทำให้สิทธิในอากาศบริสุทธิ์ของประชาชนนี้เกิดขึ้นจริง

ในบทความนี้ Techsauce จะพาไปทำความรู้จักกับ พ.ร.บ. อากาศสะอาด และเครือข่ายอากาศสะอาดกันให้มากขึ้น พร้อมกับขยายความเข้าใจว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้จะทำให้เกิด Impact อะไรขึ้นบ้าง ?

PM 2.5 คืออะไร ?

แล้ว PM 2.5 คืออะไร ? ซึ่ง PM ย่อมาจาก Particulate Matters เจ้าตัวนี้ก็คือฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กมาก ๆ โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมโครเมตร ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าและจมูกของคนเราก็ไม่สามารถกรองฝุ่นนี้ได้ ดังนั้นถ้ามีฝุ่น PM 2.5 ในอากาศปริมาณสูงมาก จะมีลักษณะคล้ายกับมีหมอกควัน โดยที่ฝุ่น PM2.5 สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ และซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้

จนกว่า...คนไทยจะได้หายใจอากาศสะอาด

และด้วยเหตุผลข้างต้นเพื่อเรียกร้องให้เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญ และได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม  "เครือข่ายอากาศสะอาด" ประเทศไทย ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มคนจิตอาสา ทั้งนักวิชาการสาขาต่าง ๆ และกลุ่มภาคประชาชน ที่ไม่ยอมทนและอยู่นิ่งเฉยกับปัญหา โดยใช้ความรู้ความสามารถในสาขาของตนเอง ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องปัญหามลพิษทางอากาศเหล่านี้ และหาสาเหตุต้นตอในเรื่องนี้ ซึ่งกลุ่มสมาชิกกว่าหลายร้อยคนที่เข้ามาทำงานทั้งด้านวิชาการ และการเคลื่อนไหวทางสังคม ร่วมกับภาครัฐ และเอกชน เพื่อหาทางออกที่จะจัดการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศไทย

#CleanAirAct

จนเกิดเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยขจัดปัญหาเหล่านี้ซึ่งก็คือ การจัดทำร่าง พ.ร.บ.กำกับดูแลการจัดการอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพแบบบูรณาการ พ.ศ.…. (เรียกย่อๆ ว่า พ.ร.บ.อากาศสะอาด) ซึ่งมีขึ้นมาตั้งแต่ปี 2020 ด้วยกฎหมายฉบับนี้จะปรับหลักคิดสำคัญ ซึ่งนั่นก็คือ "อากาศสะอาดเป็นสิทธิของประชาชน" และกำหนดให้มีกลไกสำคัญคือ "คณะกรรมการอากาศสะอาด" จะเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง ซึ่งคณะกรรมการนี้จะต้องมีตัวแทนจากจมูกประชาชนผู้สูดอากาศ ไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง โดยเป็นร่างกฎหมายฉบับประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมายต่อรัฐสภา  

พูดง่าย ๆ คือ พ.ร.บ.อากาศสะอาด เป็นการรวบรวมรายชื่อประชาชนที่เห็นด้วย เพื่อส่งเรื่องเข้าสู่รัฐสภา ทั้งนี้แค่ลงชื่อก็อาจจะไม่พอ เพราะกฎหมายไม่ว่าจะสำคัญแค่ไหนก็เป็นเพียงเครื่องมือ ดังนั้นจึงได้มีการ ผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.อากาศสะอาด โดยไทม์ไลน์ของ พ.ร.บ. ได้มีการส่งร่างกฏหมายเข้าไปรัฐสภาประมาณ 1 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับของกฎหมายดังกล่าว จึงได้มีการชักชวนให้ร่วมกันลงชื่อ เพื่อให้ครบจำนวน 5 หมื่นรายชื่อ หรือมากกว่า เพื่อผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.อากาศสะอาดในที่สุด โดยมีการให้ลงชื่อแคมเปญผ่าน https://bit.ly/3v3KozZ หรือ QR Code โดยล่าสุดมีคนลงชื่อ 48,647 คนจากเป้า 50,000 คน

พ.ร.บ. ฉบับนี้จะทำให้...

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย

ผลักดันให้มีหน่วยงานที่ “กำกับดูแล” การทำงานของหน่วยงานรัฐในการบังคับใช้กฎหมายอากาศสะอาดจริงจังขึ้น และ “บูรณาการ” การทำงานไม่ทำแบบเป็นไซโล

  • กระจายอำนาจในการกำกับดูแลให้ทั่วถึงทุกพื้นที่

    เปิดโอกาสให้ประชาชน “ร่วม” จัดการอากาศสะอาดสามระดับ คือ ระดับนโยบาย ระดับกำกับดูแล และระดับปฏิบัติ เพื่อปกป้องสิทธิที่จะหายใจอากาศสะอาดของประชาชน

  • กระจายข้อมูล ความรู้เรื่องสิทธิอย่างเท่าเทียม

    มีช่องทางให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลเรื่องอากาศ รวมถึงช่องทางการร้องเรียนปัญหาด้านคุณภาพอากาศ ร้องเรียนการทำงานของเจ้าหน้าที่ มีช่องทางในการตรวจสอบและเรียกร้องการเยียวยาได้

  • อากาศสะอาด  ถูกรับรองเป็นสิทธิที่เราต้องได้รับ

    สิทธิที่จะหายใจอากาศสะอาด จะถูกรับรองว่าเป็นสิทธิของประชาชน ก่อให้เกิดหน้าที่ของรัฐที่ต้องรับรอง ปกป้อง และทำให้เกิดสิทธินี้ขึ้นจริง

  • เน้นสร้างสุขภาพที่ดีควบคู่กับสิ่งแวดล้อมที่ดี

    กำหนดเป้าหมายสำคัญของการดูแล เรื่องอากาศสะอาด โดยเน้นให้ประชาชนมีสิทธิที่จะมีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีสุขภาพดี และไม่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

สามารถสรุปสาระสำคัญบทบัญญัติได้ 8 ประการ ได้ดังนี้

พ.ร.บ.อากาศสะอาด

พ.ร.บ.อากาศสะอาดรวบรวมข้อมูลจาก TIIS, Thailandcan

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...

Responsive image

ไทย–อินเดีย จับมือสู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”

ไทย-อินเดียยกระดับสัมพันธ์สู่ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ประกาศความร่วมมือ 6 ฉบับ ครอบคลุมเศรษฐกิจ ดิจิทัล วัฒนธรรม รับมือแรงสั่นสะเทือนจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ และเสริมบทบาทภูมิรัฐศาสตร์ใ...

Responsive image

[ข่าวลือ] Microsoft ชะลอการลงทุน Data Center ในหลายประเทศทั่วโลก

Microsoft ถูกเปิดเผยว่าชะลอหรือหยุดการลงทุนใน Data Center หลายประเทศ ทั้งลอนดอน ชิคาโก อินโดนีเซีย และวิสคอนซิน สะท้อนการทบทวนยุทธศาสตร์ AI และคลาวด์ ข้อมูลจาก Bloomberg...