เปิดตัวสมาคม TEPA หวังยกระดับ E-Payment ไทยเทียบเท่ามาตรฐานสากล

นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการนำประเทศไทยเข้าสู่สังคมไร้เงินสด ด้วยการเปิดตัวสมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ไทย (Thailand E-Payment Trade Association: TEPA) และสมาชิกภายในเครือข่าย พร้อมตอบรับ QR Code Standard โดยหวังจะเป็นช่องทางให้กับผู้บริโภคและองค์กรต่างๆ ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและยังมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยในการทำธุรกรรมต่างๆ อีกด้วย

สมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ไทย (Thailand E-Payment Trade AssociationTEPA) ได้เปิดตัวสมาคมพร้อมสมาชิกภายในเครือข่าย ตอบรับ QR Code Standard ด้วยการขับเคลื่อนโดยรัฐบาลไทยด้วยนวัตกรรมการเงินใหม่ๆ ประกอบกับในปัจจุบันนี้มีการใช้งานสมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย โดยตัวเลขอยู่ที่ 40 ล้านเครื่องในปี 2558 และเพิ่มขึ้นมาเป็น 50 ล้านเครื่องในปี 2559 และคาดว่าจะเพิ่มถึง 80 ล้านเครื่องในปี 2564 ทำให้โทรศัพท์มือถือได้กลายมาเป็นปัจจัยที่ห้าของเราไปแล้ว และการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นกิจกรรมประจำวัน จึงทำให้ผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์จัดตั้งสมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ไทย (Thailand E-Payment Trade AssociationTEPA) เพื่อยกระดับการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล และเพิ่มความไว้วางใจในการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ให้กับผู้บริโภคไทย

สมาชิกในเครือข่ายที่ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์และ e-Money

สมาคมมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 16 ราย ประกอบไปด้วย

  1. บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด
  2. บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด
  3. บริษัท เพย์สบาย จำกัด
  4. บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด
  5. บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด
  6. บริษัท ทีทูพี จำกัด
  7. บริษัท แอร์เพย์ (ประเทศไทย) จำกัด
  8. บริษัท แรบบิท-ไลน์ เพย์ จำกัด
  9. บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)​
  10. บริษัท เอ็มโอแอล เพย์เมนท์ จำกัด
  11. บริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด
  12. บริษัท เพย์ โซลูชั่น จำกัด
  13. บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน)
  14. บริษัท บลูเพย์ จำกัด
  15. บริษัท โอมิเซะ จำกัด​
  16. บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)

คุณปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ประธานคณะผู้บริหารกลุ่ม บริษัท แอสเซนด์ กรุ๊ป จำกัด นายกสมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ไทย (Thailand E-Payment Trade Association: TEPA) กล่าวว่า “การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์สะท้อนถึงนโยบาย Thailand 4.0 และการผลักดันในการเป็นสังคมไร้เงินสดของภาครัฐ ในหลายประเทศ อาทิ จีนและอินเดีย การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ล้ำหน้าไปไกลมาก และในประเทศสวีเดน สังคมไร้เงินสดก็กลายเป็นภาพแห่งความเป็นจริงขึ้นมาแล้ว ข้อดีของการไม่ใช้เงินสดต่างๆ อาทิ การลดภาระค่าใช้จ่ายการจัดการเงินสด ลดความเสี่ยงในการครอบครองเงินสด ตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอนทำให้ลดความเสี่ยงจากการคอรัปชั่น”

และนอกจากนี้ สมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ไทย (Thailand E-Payment Trade Association: TEPA) จะคอยผลักดันการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยการให้ความรู้กับผู้บริโภคไทยและองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมกันนี้ สมาคมก็จะคอยกำกับดูแลสมาชิกให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางธนาคารแห่งประเทศไทยและนโยบายภาครัฐ และจะคอยเป็นกระบอกเสียงให้กับผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมธุรกิจชาวไทย

คุณปุณณมาศ ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “ผมหวังว่าผู้บริโภคและองค์กรต่างๆ ได้ตระหนักและเปิดใจรับนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ โดยเฉพาะการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายอย่างแท้จริง และยังมั่นใจได้ถึงความปลอดภัย เพราะภาครัฐและทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ลงมากำกับดูแลธุรกิจนี้อย่างใกล้ชิด ผู้บริโภคและองค์กรต่างๆ สามารถมั่นใจได้ว่าสมาชิกของสมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ไทย (Thailand E-Payment Trade Association: TEPA) ทั้ง 16 ราย เป็นผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับใบอนุญาติประกอบธุรกิจอย่างถูกต้อง และมุ่งเน้นให้บริการผู้บริโภคด้วยบริการที่มีคุณภาพและปลอดภัยเทียบเท่ามาตรฐานสากล”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...