'Tokopedia' E-Commerce รายใหญ่ในอินโดนีเซียรับเงินลงทุน 1,100 ล้านเหรียญจาก Alibaba และ SoftBank

Startup ผู้ให้บริการด้าน E-Commerce รายใหญ่ในอินโดนีเซียอย่างบริษัท 'Tokopedia' ประกาศรับเงินลงทุน Series G จำนวน 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นเงินไทยประมาณ 36,000 ล้านบาท) จาก SoftBank Vision Fund และ Alibaba

Tokopedia SoftBank Alibaba

โดย SoftBank และ Alibaba เป็นผู้ลงทุนที่เคยลงทุนให้กับ Tokopedia มาก่อนแล้ว โดยเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว Alibaba ก็เคยมอบเงินลงทุน 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้กับ Tokopedia ส่วน SoftBank ก็โยกหุ้น Tokopedia ไปให้กองทุน SoftBank Vision Fund ถือตามข้อตกลงที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

ซึ่งดีลในครั้งนี้ นอกจากจะมี SoftBank และ Alibaba เข้าร่วมลงทุนแล้ว ยังมี SoftBank Ventures Korea, Sequoia India และนักลงทุนรายอื่นเข้าร่วมลงทุนอีกด้วย โดยคาดการณ์การลงทุนครั้งนี้จะทำให้ Tokopedia มีมูลค่าบริษัทสูงถึง 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 229,508 ล้านบาท)

ก่อนหน้านี้ เมือปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา SofBank ก็ได้มอบเงินลงทุนให้กับ Coupang บริษัท E-Commerce รายใหญ่ในเกาหลีใต้เป็นเงิน 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จนทำให้บริษัทมีมูลค่าสูงถึง 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อีกด้วย

ทางบริษัทระบุว่ามีแผนจะนำเงินลงทุนครั้งนี้ไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อช่วยให้ SME และผู้ค้าปลีกสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มของ Tokopedia ได้มากยิ่งขึ้น ส่วนในด้านผู้บริโภค (Consumer) ก็เตรียมพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางด้านการเงินให้ขยายไปนอกเหนือจาก Core บริการ E-Commerce ที่มีอยู่เดิม รวมถึงขยายระบบเพื่อรองรับคนที่เข้ามาใช้บริการที่มีมากขึ้น

Tokopedia เป็นผู้ให้บริการ E-Commerce สาย C2C Marketplace รายใหญ่ในประเทศอินโดนีเซีย มีสำนักงานใหญ่อย่ที่เมืองจาร์กาตา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 ปัจจุบันมีอายุครบ 9 ปีแล้ว ถือเป็น Unicorn ลำดับที่ 3 ในประเทศอินโดนีเซียอีกด้วย โดย Unicorn อีก 3 รายในอินโดนีเซีย ได้แก่ GO-JEK (ลำดับที่ 1), Traveloka (ลำดับที่ 2) และ Bukalapak (ลำดับที่ 4)

อ้างอิงข้อมูลจาก TechCrunch

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...