ทรูปรับทัพครั้งใหญ่ ศุภชัย ขึ้นบริหารซีพีเต็มตัว ดันวิเชาวน์และอติรุฒม์ ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่

หลังจากมีข่าวออกมาอย่างต่อเนื่องว่าท่านเจ้าสัวแห่งซีพี ธนินท์ เจียรวนนท์ จะพักและยกตำแหน่งสืบทอดให้กับลูกชายศุภชัย เจียรวนนท์ ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะผู้บริหารซีพีแทน ทำให้ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ว่างลง

แม้วงในได้มีการพูดคุยกันมาสักพักแล้วว่าตำแหน่งดังกล่าวต้องตกเป็นของผู้บริหารที่อยู่ในเครือทรูมานาน ไม่คนใดก็คนหนึ่งนั่นคือ "วิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์" ผู้อยู่กับทรูมานานกว่า 25 ปี โดยมีส่วนสำคัญในการผลักดันโครงข่ายสื่อสารของทรูมาโดยตรง  ไม่ก็อีกท่านหนึ่งคือ "อติรุฒม์ โตทวีแสนสุข" ซึ่งอยู่กับทรูมากว่า 19 ปี และมีประสบการณ์หมุนเวียนอยู่ในองค์กรหลายหน่วยงาน ทั้ง We PCT ในสมัยนั้น, ทรูมันนี่ (ก่อนที่จะมาอยู่กับ ascend), เคยดูแลการเปิดตัว 3G ให้กับทรูมูฟ, ดูแลส่วนงานไอที รวมถึงมีประสบการณ์ในการทำการตลาดส่วนภูมิภาคอีกด้วย

True-Corp-Management

ล่าสุดก็ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้วว่า จากการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ของทรู คอร์ปอเรชั่น มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งและปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร ดังนี้

  • ศุภชัย เจียรวนนท์ เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร (Chairman of the Executive Committee)
  • วิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) รับผิดชอบงานด้านการพาณิชย์
  • อติรุฒม์ โตทวีแสนสุข เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) รับผิดชอบงานด้านปฎิบัติการ

โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560

นับเป็นการผลัดใบครั้งใหญ่ครั้งสำคัญ สำหรับช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา เรามาย้อนรอยเหตุการณ์สำคัญๆ กันเสียหน่อย

  • อดีตบริษัททรูชื่อ เทเลคอมเอเชีย มาก่อน ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคม แบบ Fixed Line, อินเทอร์เน็ต และถ้าใครยังจำกันได้มี PCT ด้วย
  • เทเลคอมเอเชียเคยร่วมทุนกับ กับกลุ่มออเร้นจ์ จากประเทศฝรั่งเศส ภายใต้ ทีเอ ออเร้นจ์ แต่ในที่สุดกลุ่มออเร้นจ์ก็ถอนตัวกลับไป และบริษัทดังกล่าวกลับมาเป็นส่วนหนึ่ง ของบริษัท ทรู ภายใต้ชื่อ ทรูมูฟ ในปี 2547
  • ปี 2553 เข้าซื้อหุ้นของบริษัท กลุ่มฮัทชิสัน ไวร์เลส ซึ่งหลายคนรู้จักกันในเทคโนโลยีผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในรูปแบบ CDMA มีการควบรวมกิจการ เพื่อนำคลื่นความถี่ที่ได้มาเปิดให้บริการ 3G ในเวลานั้น และผนวกเอาพนักงานบางกลุ่มเข้ามา
  • ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเริ่มผันทำธุรกิจด้านการเงินในรูปแบบของ Non-bank บริการที่เห็นเด่นๆ ก็อย่างทรูมันนี่ ซึ่งปัจจุบันย้ายไปอยู่ภายใต้บริษัท ascend Money ในกลุ่มของ ascend Group 
  • นี่ยังไม่นับบริษัทอื่นๆ ในเครือซีพีที่มีประวัติซับซ้อนมากมายอย่าง ทรูวิชั่น อันเป็นธุรกิจเดิมที่ชื่อ ยูบีซี โดย กลุ่มชินวัตรได้ขายหุ้นให้กับซีพีในเวลานั้น และกลุ่มเอ็มไอเอช ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ขายหุ้นทั้งหมดให้กับกลุ่มทรู คอร์ปอเรชัน จนกระทั่งปัจจุบันกลายมาเป็น ทรูวิชั้่น นั่นเอง

และนี่เป็นการผลัดใบครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2542 ที่ศุภชัย เจียรวนนท์ จะส่งไม้ต่อตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ให้กับผู้บริหาร (ร่วม) ทั้ง 2 แต่ก็เชื่อว่าหลายๆ อย่างในองค์กรไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก เพราะทั้ง 2 ท่านก็ดูแลองค์กรนี้มาอย่างยาวนานและอยู่ในระดับวางนโยบายของบริษัทมาโดยตลอดอยู่แล้ว

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...