UOB x Lazada ปล่อยสินเชื่อที่ไม่ต้องมีหลักประกันให้ SMEs ออนไลน์พร้อมระบบบริหารร้านจาก Bento Web

ธนาคาร UOB เปิดตัว UOB BizMerchant ปล่อยสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกันสำหรับธุรกิจ E-commerce บนแพลตฟอร์ม Lazada สินเชื่อดังกล่าวมอบวงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท โดยมีกำหนดระยะเวลาสัญญา 12 เดือน อนุมัติวงเงินภายภายใน 1 วัน เมื่อได้รับเอกสารครบ ลดระยะเวลาจากเดิม 7 วัน ในการขอสินเชื่อธุรกิจแบบเดิม เนื่องจากธนาคารจะใช้ข้อมูลเชิงลึกจาก Lazada ในการพิจารณาการให้สินเชื่อ 

เกณฑ์การขอสินเชื่อ UOB BizMerchant

ผู้ประกอบการ E-commerce ในนามบุคคลทั่วไปหรือจดทะเบียนนิติบุคคล ดำเนินธุรกิจบน Lazada มาอย่างน้อย 6 เดือน และมีรายได้รวมเฉลี่ยในรอบ 6 เดือนล่าสุดมากกว่า 500,000 บาทขึ้นไป สามารถยื่นขอสินเชื่อ UOB BizMerchant ได้ และรับสิทธิพิเศษใช้บริการจาก Bento Web ฟรี 3 เดือนแรก เพื่อบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดต้นทุน ทั้งในเรื่องการจัดการคลังสินค้า การคำนวณค่าจัดส่ง บริหารคำสั่งซื้อจากหลายช่องทาง การตลาดออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขาย เป็นต้น  

คุณสยุมรัตน์ มาระเนตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคาร UOB (ไทย) กล่าวว่า

 “เราเล็งเห็นถึงความต้องการในกลุ่มผู้ค้า E-commerce ในด้านความต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อใช้หมุนเวียนในธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว  นอกจากนั้นแล้ว ธุรกิจเอสเอ็มอีปัจจุบันต้องใช้ช่องทาง E-commerce รวมถึงสื่อโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ เพื่อทำการตลาดและเพิ่มยอดขายโดยรวม เราเข้าใจความท้าทายในเรื่องการบริหารจัดการออร์เดอร์และสต็อกสินค้าผ่านช่องทางการขายหลายช่องทาง จึงเป็นที่มาของความร่วมมือกับ Lazada และ Bento Web ในครั้งนี้ ที่จะทำให้เราสามารถช่วยผู้ค้า ทั้งในเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่รวดเร็ว พร้อมเครื่องมือในการช่วยจัดการระบบร้านค้า”

คุณณัฐเศษ ศิรินันท์ธนานนท์ ผู้ก่อตั้ง Bento Web กล่าวว่า 

“เรายินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการร่วมผลักดันธุรกิจ E-commerce ไปด้วยกันกับ UOB และ  Lazada แพลตฟอร์มของ Bento Web ครอบคลุมการบริหารจัดการธุรกิจ E-commerce ในทุกด้าน เหมาะกับทั้งผู้เริ่มต้นใหม่ที่ไม่มีความรู้ด้าน E-commerce หรือธุรกิจที่ต้องการขยายกิจการ และรับมือกับการเติบโต ด้วยการจัดการช่องทางการขายแบบรวมศูนย์ ลดภาระความยุ่งยากในการติดตามออร์เดอร์และการจัดส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

โอกาสและทิศทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

เศรษฐกิจ Digital ของประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีอัตราการเติบโตสะสมต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 33 ระหว่างช่วงปี 2558-2562 ซึ่งปัจจัยหลักมาจากภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่คาดว่าจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยมีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นจาก 5,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปีนี้ เป็น 18,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ภายในปี 2568  แนวโน้มการเติบโตอันมหาศาลนี้หมายถึงโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ ที่สามารถสร้างยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงเงินทุนหมุนเวียนที่ทันท่วงที

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...