ทำไม Andy Jassy อยู่ Amazon ได้เกือบ 30 ปีโดยไม่รู้สึกเบื่อ?

ทำไม Andy Jassy อยู่ Amazon  ได้เกือบ 30 ปีโดยไม่เบื่อ?

ตอนที่ Andy Jassy เริ่มทำงานที่ Amazon ในปี 1997 เขาไม่เคยคิดเลยว่าจะอยู่ได้นานขนาดนี้ แถมเคยบอกกับเพื่อนด้วยซ้ำว่า คงไม่ทำงานที่ไหนยาว ๆ เหมือนพ่อที่อยู่บริษัทเดิมมา 45 ปีแน่นอน แต่ผ่านมาเกือบ 30 ปี เขายังอยู่ที่เดิม และตอนนี้กลายเป็น CEO ของ Amazon ไปแล้ว ซึ่งเขายังได้เล่าถึงเหตุผลที่ยังไม่ไปไหน และแชร์ว่าอะไรทำให้เขาอยู่กับ Amazon ได้มานานขนาดนี้ 

Amazon เป็นบริษัทที่ชอบตั้งคำถาม

ก่อนพูดถึงเหตุผลหลัก Jassy บอกว่า สิ่งที่เขาชอบมากเกี่ยวกับ Amazon คือความเป็น “บริษัทที่ถามว่า ทำไม และ ทำไมจะไม่ได้ อยู่ตลอด”

การตั้งคำถามแบบนี้ทำให้พวกเขาแก้ปัญหาได้ลึกถึงราก ช่วยให้มองเห็นโอกาสในสิ่งที่คนอื่นอาจมองข้ามไป ซึ่งแนวคิดนี้ที่ทำให้ Amazon เปลี่ยนจากร้านขายหนังสือออนไลน์ มาเป็นบริษัทที่สร้าง Kindle, AWS, Prime Video รวมถึงระบบ “Buy with Prime” ที่คนใช้กันอยู่ทุกวันนี้

แล้วอะไรทำให้เขาอยู่ได้นานขนาดนั้น?

1. เพราะ Amazon ใส่ใจลูกค้าจริง ๆ

“หลายบริษัทพูดว่าลูกค้าสำคัญ แต่มีไม่กี่ที่ทำตามคำพูด ” Jassy บอกไว้แบบนั้น นอกจากนี้ Amazon ยังพยายามเข้าใจลูกค้าและพัฒนาบริการอย่างต่อเนื่อง ลูกค้าจึงกลับมาใช้บริการซ้ำ และส่งผลให้รายได้เติบโตตามไปด้วย 

มุมมองสำหรับคนทำงาน: การได้ทำงานในบริษัทที่ใส่ใจลูกค้าไม่เพียงแค่ช่วยให้บริษัทเติบโต แต่ยังทำให้เรารู้สึกว่างานที่ทำมีความหมาย ยิ่งถ้าเห็นว่าสิ่งที่เราทำช่วยให้ชีวิตใครบางคนง่ายขึ้น ก็เป็นแรงผลักที่ดีไม่น้อย 

2. ได้สร้างผลกระทบระดับโลก

Jassy มองว่า โอกาสที่ได้จาก Amazon หาได้ยาก เพราะเขาได้มีส่วนร่วมสร้างสิ่งที่เปลี่ยนโลก ทั้งการเปลี่ยนวิธีซื้อของของผู้คน ไปจนถึงการให้บริการเทคโนโลยีผ่าน AWS 

มุมมองสำหรับคนทำงาน: บางทีเราทำงานไปเรื่อย ๆ จนลืมคิดว่า สิ่งที่เราทำอยู่ทุกวันมันส่งผลกับใครบ้าง การได้ทบทวนว่าเรากำลังช่วยแก้ปัญหาอะไรให้ใครอยู่ อาจทำให้เรามองเห็นความสำคัญของงานในมุมใหม่ ๆ ก็ได้

3. เพราะที่นี่มองระยะยาว ทั้งเรื่องงานและเรื่องคน 

“Amazon ลงทุนกับไอเดียใหม่ ๆ และกับคนที่ทำงานด้วย”  ที่นี่เปิดโอกาสให้ทีมกล้าลองสิ่งใหม่ ๆ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะพลาด เพราะเชื่อว่าความสำเร็จต้องใช้เวลา ไม่ได้เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน 

มุมมองสำหรับคนทำงาน: เราทุกคนอยากเติบโต แต่การเติบโตต้องเกิดจากองค์กรที่ให้โอกาส ถ้าที่ไหนเชื่อในศักยภาพของพนักงานจริงๆ เปิดพื้นที่ให้เรียนรู้จากความผิดพลาด และพัฒนาไปด้วยกัน นั่นแหละคือที่ที่น่าอยู่ต่อ

4. เพราะได้ทำงานกับคนเก่ง ๆ ที่อยากทำอะไรดี ๆ เหมือนกัน

นอกจาก 3 เหตุผลหลักที่ Jassy ยกมา เขายังพูดถึงอีกหนึ่งเรื่องที่หลายคนน่าจะเห็นด้วย — ก็คือ ‘เพื่อนร่วมงาน’ 

เขาบอกว่าไม่เคยเจอทีมที่ทั้งเก่งและมีใจอยากสร้างสิ่งดี ๆ เท่าที่นี่มาก่อน และนั่นคือสิ่งที่ทำให้ยังอยากลุยต่อทุกวัน แม้งานจะยากก็ตาม 

มุมมองสำหรับคนทำงาน: หลายครั้งที่เรารู้สึกอยากลาออก อาจไม่ใช่เพราะงานเสมอไป แต่เพราะคนร่วมงาน ถ้ามีคนรอบตัวที่เข้าใจ ช่วยกันจริง ๆ งานที่ว่ายากก็พอจะไปต่อได้ 

วัฒนธรรมที่ตรงกัน คือเหตุผลที่อยู่ได้นาน

Jassy เล่าว่าตอนที่พ่อพยายามชวนให้ย้ายไปทำงานที่อื่นในช่วงแรก ๆ เขารู้สึกว่า “เขาเจอที่ที่ใช่แล้ว” และมันก็กลายเป็นที่ที่เขาอยู่มาเกือบ 30 ปี บางที ถ้าเรายังไม่รู้สึกแบบนั้นกับที่ทำงานของเรา อาจถึงเวลาลองถามตัวเองว่า “ที่ที่เราอยู่ทุกวันนี้ ใช่ที่ของเราจริง ๆ หรือเปล่า?”

อ้างอิง: forbes

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

3 สัญญาณ 'ผู้นำยอดแย่' ในที่ทำงาน

ในยุคนี้ การเป็นหัวหน้าไม่ใช่แค่ “สั่งให้ทำ” แต่ต้องเข้าใจคน เข้าใจอารมณ์และความคิด หากยังใช้วิธีบริหารแบบเดิม ๆ อยู่ นั่นอาจเป็นสิ่งที่กำลังฉุดรั้งทีมเอาไว้ได้ และต่อไปนี้คือ 3 สั...

Responsive image

ผ่านช่วง Mid-career กับ 6 คำถามที่ควรถามตัวเอง เมื่อชีวิตมาถึงครึ่งทางของการทำงาน

รู้สึกเหมือนหลงทางทั้งที่ทำงานมานาน? ลองถามตัวเองด้วย 6 คำถามนี้ ช่วยเคลียร์ใจช่วง Mid-career ให้ชัดขึ้น...

Responsive image

5 เคล็ดลับสื่อสารให้เก่งเหมือนบารัค โอบามา

ตอนที่โอบามาเป็นนักเคลื่อนไหวใหม่ ๆ เขาเคยประหม่าและพูดผิดพลาดต่อหน้าคนมากมาย แต่จากวันนั้น เขาค่อย ๆ พัฒนาตัวเองจนกลายเป็นนักพูดที่ใคร ๆ ก็อยากฟัง และนี่คือ 5 เทคนิคที่โอบามาใช้ใน...