รู้จัก Bio Concrete คอนกรีตซ่อมแซมตัวเอง มิติใหม่จากส่วนผสมชีวภาพเพื่อความยั่งยืน

มิติใหม่ของวงการก่อสร้าง เมื่อคอนกรีตในวันนี้ซ่อมตัวเองได้แล้ว จากนวัตกรรมคอนกรีตที่มีส่วนผสมจากแบคทีเรีย เปลี่ยนการใช้คอนกรีตแบบเดิม ๆ ไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น

คอนกรีตเป็นวัสดุที่ใช้กันมากที่สุดในการก่อสร้างและถูกใช้งานมานานหลายทศวรรษ เพราะมีความ แข็งแรง ทนทาน และยืดหยุ่นสูง คอนกรีตได้รับการพัฒนาขึ้นจนมีหลายแบบ หลายเกรดให้ได้เลือกใช้งานตามองค์ประกอบและประสิทธิภาพ

Bio Concrete คลื่นลูกใหม่ของคอนกรีตเพื่อความยั่งยืน

แนวคิดแรกในการพัฒนาคอนกรีตจากวัสดุชีวภาพเริ่มจาก นักจุลชีววิทยาชาวดัทช์ Hendrik Jonkers ในปี 2006 กับคำถามที่ว่า “จะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะใช้แบคทีเรียเพื่อสร้างคอนกรีตที่ซ่อมแซมตัวเองได้”

ในที่สุดในปี 2017 เขาได้พัฒนาคุณสมบัติสุดเจ๋งของคอนกรีตที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อนได้สำเร็จ ด้วยการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของคอนกรีตปกติเล็กน้อยโดยการผสมแบคทีเรียเข้าไป ซึ่งไม่กระทบกับประสิทธิภาพของคอนกรีตแบบเดิม ๆ 

แต่เพิ่มคุณสมบัติการซ่อมแซมตัวเองเมื่อแตกร้าว โดยการใช้นํ้าเข้าไปกระตุ้นให้แบคทีเรียผลิตหินปูนที่จะมาช่วยผสานรอยแตกได้นั่นเอง

รูปจาก: epo.org

4 ข้อดีของ Bio Concrete ต่อวงการรับเหมาก่อสร้าง

  • ปิดผนึกรอยแตกขนาดเล็ก: Bio Concrete สามารถปิดผนึกรอยแตกร้าวขนาดเล็ก ป้องกันไม่ให้ขยายตัวและทำให้โครงสร้างเสียหายอย่างมาก สามารถผสานรอยแตกร้าวได้กว้างถึง 0.8 มิลลิเมตร
  • ใช้กับโครงสร้างพื้นฐานได้หลายประเภท: เนื่องจาก Bio Concrete ไม่ได้เปลี่ยนความสามารถของคอนกรีตแบบเดิม ๆ จึงสามารถใช้ได้ในการก่อสร้างได้หลากหลาย  ไม่ว่าจะเป็น สะพาน อาคาร อุโมงค์ และโครงสร้างพื้นฐานประเภทอื่น ๆ ได้ตามต้องการ เปิดโอกาสใหม่ ๆ ในด้านวิศวกรรมและการก่อสร้าง
  • เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: Bio Concrete ช่วยลดการปล่อยคาร์บอน จากการลดการใช้คอนกรีตน้อยลงในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมร้อยแตกร้าวขนาดเล็ก
  • อายุการใช้งานยืนยาว: Bio Concreteคาดว่าจะมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 200 ปีภายใต้องค์ประกอบที่เหมาะสม สามารถทนทานภายใต้สภาพอากาศและสภาวะทางกายภาพที่หลากหลายก็ตาม

Bio Concrete กำลังพิสูจน์ให้เห็นว่าจะเข้ามาเปลี่ยนเกมในวงการก่อสร้างไปสู่ความยั่งยืนจากการใช้วัสดุทางชีวภาพที่ช่วยซ่อมแซมตัวเองได้ Hendrick Jonkers ยั่งคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนา Bio Concrete  เพิ่มความคุ้มทุนในการผลิตและตอบสนองการใช้งาน สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

อ้างอิง: edition.cnn, buildsoft



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ควรเปลี่ยนมือถือทุกกี่ปี สำรวจชี้ การเปลี่ยนทุก 5 ปี ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้เกือบครึ่ง

ควรเปลี่ยนมือถือทุกกี่ปี ? สำรวจพฤติกรรมการเปลี่ยนมือถือของคนทั่วไป พร้อมแนวทางใหม่จาก Back Market และ iFixit ที่ชวนคุณใช้งานให้นานขึ้นถึง 5-10 ปี เพื่อลดขยะอิเล็กทรอนิกส์และช่วยโล...

Responsive image

VTT จับมือ Refinity ถ่ายทอดเทคโนโลยี Olefy พลิกโฉมการรีไซเคิลพลาสติกแบบผสมสู่เวทีโลก

VTT หน่วยงานวิจัยและพัฒนาแห่งชาติของฟินแลนด์ ได้ลงนามถ่ายทอดสิทธิการใช้ Olefy เทคโนโลยีการรีไซเคิลพลาสติกแบบผสม (mixed plastic recycling) ให้กับบริษัท Refinity...

Responsive image

Muhammad Yunus เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี 2006 กล่าวอะไรบ้างบนเวที BIMSTEC Young Gen Forum

Pro.Muhammad Yunus เดินทางมาร่วมงาน BIMSTEC Young Gen Forum: Where the Future Meets งานสัมมนาคู่ขนานกับการประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 6 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ สาระสำคัญมีอะไรบ้า...