จากทำงานเพื่อมีชีวิตรอด สู่การเอาตัวรอดเพื่อมีงานทำ ส่องอนาคตแห่งอาชีพในยุค AI จาก Brett King

‘งาน และอาชีพ’ คงเป็นสิ่งแรกที่คงนึกถึงเมื่อพูดถึงผลกระทบจากการเติบโตของ AI ซึ่งสะท้อนให้เห็นผ่านการ Layoff ของบริษัทเทคฯ หลายแห่งที่นำ AI มาใช้แทนการทำงานบางส่วน แต่คำถามที่เราอาจต้องเริ่มกลับคิดตั้งแต่เนิ่นๆ คือ ผลกระทบจาก AI ต่อจากนี้อีก 10-20 ปีข้างหน้าจะหนักหน่วงแค่ไหน ? มนุษย์จะตกงานเพราะ AI จริงหรือไม่ ? 

Brett King นักอนาคตศาสตร์ และนักเขียนได้ออกมาแชร์เรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับโลกในปี 2030 ที่ AI จะเข้ามามีผลกระทบต่องาน และอาชีพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และอาจเป็นอีกครั้งที่มนุษย์ต้อง ‘เอาตัวรอด’

แต่ก่อนจะไปถึงอีก 20 ปีข้างหน้า เราลองย้อนกลับไปดูการทำงานในยุคก่อนๆ เพื่อเข้าใจว่าทำไม AI และเทคโนโลยีถึงอาจจะมาแทนที่การทำงานในอนาคต

จากทำงานเพื่อเอาชีวิตรอด สู่เอาตัวรอดเพื่อให้มีงานทำ

Brett King เล่าว่าหากเราลองย้อนกลับไปช่วงทศวรรษ 1800 ช่วงนั้นมนุษย์ยังต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเอาชีวิตรอด การหาที่อยู่อาศัย และการทำงานหนัก ซึ่งอาชีพส่วนใหญ่ที่นิยมทำกันคือ ‘เกษตรกรรม’ โดยในช่วงปี 1850 กำลังแรงงานกว่า 75% มุ่งเน้นไปที่การทำฟาร์ม 

แต่เมื่อเทคโนโลยี และเครื่องจักรเข้ามาปฏิวัติอุตสาหกรรม ก็ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และการทำงานของมนุษย์ไปอย่างสิ้นเชิง อย่างเช่นคนในฟาร์มถูกแทนที่ด้วยรถแทรกเตอร์ ซึ่งลองมองกลับมาที่ปัจจุบันมีประมาณ 1.5% ของแรงงานเท่านั้นที่ยังคงทำงานเกษตรกรรม 

บริษัทหลายแห่งก็พยายามที่จะนำเทคโนโลยีมาแทนที่มนุษย์ อย่างใน Gigafactory ของ Tesla ที่นำหุ่นยนต์ Optimus มาช่วยยกของแทนคน หรือ Alibaba ที่เริ่มนำโดรนมาส่งพัสดุตามบ้านแล้ว 

Brett King ชวนคิดภาพในอนาคตว่า ร้านอาหารสตรีทฟู้ดที่ไทยอาจมีคนขายเป็นหุ่นยนต์ พอทำอาหารเสร็จก็ใช้โดรนอัตโนมัติบินไปส่งออเดอร์ตามโลเคชันลูกค้า หรืออาจจะมีรถตุ๊กตุ๊กไร้คนขับมาพาไปเที่ยวจนส่งเราถึงหน้าบ้าน 

การมีหุ่นยนต์ในโลกที่อยู่รอบตัวเราจะเป็นเรื่องธรรมดา แต่หุ่นยนต์เหล่านี้จะแย่งงานไปจากพนักงานบริการ

และหากเราจินตนาการว่า AI กำลังจะส่งผลกระทบแบบนี้ในทุกๆ อุตสาหกรรมภายใน 10-15 ปีข้างหน้า จึงทำให้ปฏิเสธไม่ได้ว่า AI เป็นเรื่องใหญ่ที่เราควรกังวล

คำถามสำคัญคือ เราควรหยุดยั้งการพัฒนา AI หรือไม่? Brett King บอกว่า คำตอบคือ ‘ไม่’

เพราะตลาดแรงงานต้องการประสิทธิภาพ และผลผลิตจาก AI ในตอนนี้มีการทุ่มเงินลงทุนมหาศาลในการพัฒนา AI และยิ่งในตอนนี้เริ่มมี AI Agent ที่สามารถสร้างรายได้หลายล้านดอลลาร์ให้กับตัวเองได้แล้ว (Brett King ยกตัวอย่าง GOAT เหรียญคริปโตฯ ที่ออกแบบโดยแชทบอท AI และเคยมีมูลค่ากว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ) ยิ่งช่วยขยายภาพความก้าวหน้าของ AI ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม Brett King มองว่า สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ AI สามารถสร้างผลประโยชน์ และสร้างผลกำไรให้กับองค์กรขนาดใหญ่ ขณะที่คนทั่วไปอาจประสบปัญหาการว่างงานเพราะการมาของ AI เช่นกัน

Brett King อธิบายเพิ่มว่า ยิ่งเมื่อเรานำ AI เข้าสู่การผลิต และเศรษฐกิจเพื่อสร้างผลผลิต และผลตอบแทนมากเท่าไหร่ การเติบโตของค่าแรงของมนุษย์ก็จะยิ่งลดลงเท่านั้น

งานใดบ้างที่เสี่ยง วิธีเลี่ยงถูกแทนที่ ?

งานที่ทำซ้ำๆ ได้ หรืองานที่อาศัยข้อมูลเป็นหลัก มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่ด้วย AI แม้แต่งานที่ดูเหมือนซับซ้อน เช่น การผ่าตัดหรือการวินิจฉัยโรค AI ก็สามารถเรียนรู้และพัฒนาความสามารถจนเหนือกว่ามนุษย์ได้ในอนาคต

โดย Brett King ยกตัวอย่างงานที่ตกอยู่ในความเสี่ยง เช่น ทนายความ แพทย์ นายธนาคาร นักบัญชี เพราะงานเหล่านี้ต่างเป้นงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า ‘ความไม่สมดุลของข้อมูล’ หรือกล่าวคือ ผู้ที่ทำงานเหล่านั้นมีข้อมูลในด้านนั้นมากกว่าเรา

อดีตซีอีโอ Google อย่าง Eric Schmidt เตือนว่า AI จะส่งผลกระทบเร็วกว่าที่คิด จากที่เคยคาดการณ์ไว้ 20 ปี อาจเหลือเพียง 5 ปีเท่านั้น ดังนั้นเราต้องเตรียมตัวรับมือตั้งแต่วันนี้ โดยวิธีปรับตัวรับกับ AI และอาชีพตามคำแนะนำของ Ben King มีดังนี้

  • ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้การใช้ AI: ฝึกฝนทักษะในการใช้เครื่องมือ AI เช่น ChatGPT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  • สร้างแบรนด์ส่วนตัวให้สอดคล้องกับ AI: นำเสนอตนเองในฐานะ 'มนุษย์เสริม' ที่สามารถทำงานร่วมกับ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เป็นผู้ใช้เทคโนโลยีในยุคแรกๆ: อย่ารอช้าที่จะทดลองและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ
  • เน้นพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับ Emotional และความคิดสร้างสรรค์: สิ่งเหล่านี้เป็นจุดแข็งของมนุษย์ที่ AI ยังไม่สามารถทดแทนได้


อ้างอิง : ข้อมูลจากการบรรยาย AI 2030: Stepping into an AI-Powered Future of Work

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ถอดบทเรียน 3 ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ไทย-ศรีลังกา-บังกลาเทศ จากงานสัมมนา BIMSTEC Young Gen Forum

สรุปจาก 'Innovation & Growth Drivers' หัวข้อเสวนาจากงาน BIMSTEC Young Gen Forum : Where the Future Meets ที่มีผู้นำรุ่นใหม่จาก 3 ประเทศ BIMSTEC มาเล่าวิสัยทัศน์ ความท้าทาย บนเวทีสั...

Responsive image

คืนชีพ Dire Wolf หมาป่าที่สูญพันธ์ไปเมื่อ 12,500 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์ทำได้อย่างไร ?

Dire Wolf คือชื่อของหมาป่าสายพันธุ์หนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 12,500 ปีก่อน และในวันนี้ พวกมันได้กลับมามีชีวิตอีกครั้งอย่างน่าทึ่ง ในฐานะที่บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ Colossal Bioscie...

Responsive image

คอมตัมคอมพิวติ้ง ตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว ? สรุปความก้าวหน้าควอนตัมจากงาน NVIDIA GTC 2025

งาน NVIDIA GTC 2025 เป็นปีแรกที่มีการจัดเวทีพูดคุยเกี่ยวกับควอนตัมคอมพิวติ้งโดยเฉพาะ (Quantum Day) ซึ่ง NVIDIA ในฐานะเจ้าภาพ และผู้ขับเคลื่อนการประมวลผลแบบ Accelerated Computing จึ...