เรียนรู้การพัฒนา product จากพระราชดำริกังหันชัยพัฒนา

กังหันชัยพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่เลื่องชื่อของพระราชดำริส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นโครงการที่ชาวไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ยังเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ ด้วยรางวัลเหรียญทองจาก The Belgian Chamber of Inventor องค์กรทางด้านนวัตกรรมที่เก่าแก่ของเบลเยียมอีกด้วย ซึ่งเราสามารถเอาหลักการพระราชดำริของพระองค์มาใช้ในการพัฒนา Product ได้เช่นกัน

การเล็งเห็นถึงปัญหา (find pain point)

ปัญหาน้ำเน่าเสียใจในเมืองอาจจะดูเป็นเรื่องธรรมดา เช่นเดียวกับน้ำในคลองแสนแสบที่คนคิดทำใจแล้วเรียกมันว่าคลองน้ำสีดำแต่พระองค์ทรงเล็งเห็นว่าน้ำในแม่น้ำลำคลองเราไม่ใช่แค่น้ำสีดำ แต่เป็นน้ำเน่าต้องแก้ไข

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : ในมุมธุรกิจนอกจากการปล่อยให้ชีวิตเป็นไปตามชีวิตประจำวันของเรา ถ้าเราหยุดคิด แล้วสังเกตเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตเราและคนรอบข้าง แล้วหา Pain Point ให้เจอ เพราะบางทีปัญหาไม่มี ถ้าเราไม่เริ่มมองหา ถ้ามองในทางธุรกิจการเล็งเห็นถึง Pain Point นั่นก็เหมือนกับการเล็งเห็นถึงโอกาสในธุรกิจ

chaipattana-mechanic

วิธีการง่ายๆ แต่ให้ผลประโยชน์สูงสุด (lean process)

เมื่อทรงเล็งเห็นถึงปัญหาน้ำเน่าเสียใจกรุง ทุกคนต่างร่วมกันหาทางออก ทางแก้ปัญหาน้ำเน่าคือการเพิ่มออกซิเจนให้น้ำ มีการนำเข้ากังหันจากต่างประเทศหลายรุ่น ทั้งรุ่นที่มีมอเตอร์แรงๆ เพื่อที่จะตีน้ำให้เร็ว ออกซิเจนจะได้เข้าสู่น้ำเยอะขึ้น การนำเข้ามอเตอร์ไฟฟ้ารุ่นดีมีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่พระองค์กลับทรงมีแนวพระราชดำริที่แตกต่างกันออกไป ถ้าเราต้องการให้น้ำกระจายเพื่อออกซิเจนจะได้มากขึ้น แทนที่เราจะเพิ่มความเร็วการตีน้ำ พระองค์ทรงประดิษฐ์กังหันชัยพัฒนาเพื่อเปลี่ยนที่วิดน้ำที่สัมผัสกับน้ำแทน พระองค์ทรงใช้ซองวิดน้ำที่เป็นรูพรุน เพื่อให้น้ำกระจายมากขึ้น ผลออกมาว่า

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : เมื่อเรามองในมุมธุรกิจ หลายคนอาจจะเห็นปัญหาเช่นเดียวกับเรา แต่เราจะแก้ปัญหาหาทางแก้ปัญหาให้ตรงจุดได้อย่างไร ทั้งตรงจุด ทั้งใช้ต้นทุนที่น้อยกว่า ซึ่งนี่ถือว่าเป็นพระอัฉริยภาพของในหลวงของเราจริงๆ

ทำมันต่อไป (keep doing it)

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : นอกจากจะมองเห็นปัญหา แก้ไขปัญหา การมองไปข้างหน้า มองหาโอกาส และ pain point ต่อๆ ไปก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ปัญหาอาจจะไม่ได้มีแค่ปัญหาเดียว ทางแก้ก็อาจจะไม่ได้มีแค่ทางออกเดียว เช่นเดียวกับธุรกิจถึงแม้เราจะแก้ปัญหาครั้งนี้ไม่ได้ กลับมาทบทวนว่าเรามองปัญหาทะลุปรุโปร่งหรือยัง ทางแก้ของเราแก้ถูกจุดหรือยัง ทำมันต่อไป แล้วเราจะได้คำตอบเอง

————————————————————————————————————- Editorial Note: บทความนี้คือบทความพิเศษที่เราเรียกว่า Guest Post จาก  Anna Tuntiwaraporn ดูแลด้าน Content Marketing แห่ง Frank.co.th ผู้ให้บริการด้านประกันรถยนต์ออนไลน์ในประเทศไทย (ภายใต้การรับประกันภัยโดย บริษัทกรุงเทพประกันภัย) บทความนี้ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้เขียน ซึ่งมี techsauce เป็น ผู้เผยแพร่เดียวที่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ หากต้องการนำบทความไปใช้กรุณาให้เกียรติด้วยการอ้างอิงชื่อผู้เขียนและลิงก์ กลับมายังบทความต้นฉบับ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

นักวิทยาศาสตร์สร้าง Brain Map ละเอียดที่สุดในโลกจากสมองหนู

ค้นพบครั้งประวัติศาสตร์ นักวิทย์สร้างแผนที่สมองที่ละเอียดที่สุดจากสมองหนู ข้อมูลทะลักกว่า 500 ล้านจุด เชื่อมโยง AI-แพทย์อนาคต...

Responsive image

ถอดบทเรียน 3 ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ไทย-ศรีลังกา-บังกลาเทศ จากงานสัมมนา BIMSTEC Young Gen Forum

สรุปจาก 'Innovation & Growth Drivers' หัวข้อเสวนาจากงาน BIMSTEC Young Gen Forum : Where the Future Meets ที่มีผู้นำรุ่นใหม่จาก 3 ประเทศ BIMSTEC มาเล่าวิสัยทัศน์ ความท้าทาย บนเวทีสั...

Responsive image

คืนชีพ Dire Wolf หมาป่าที่สูญพันธ์ไปเมื่อ 12,500 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์ทำได้อย่างไร ?

Dire Wolf คือชื่อของหมาป่าสายพันธุ์หนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 12,500 ปีก่อน และในวันนี้ พวกมันได้กลับมามีชีวิตอีกครั้งอย่างน่าทึ่ง ในฐานะที่บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ Colossal Bioscie...