เชื้อราดำ โรคที่กำลังระบาดหนักในอินเดีย เกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไร ร้ายแรงขนาดไหน

นอกจากปัญหาจากโควิด-19 แล้ว อีกหนึ่งความท้าทายที่อินเดียจะต้องเผชิญอยู่ คือ ‘เชื้อราดำ’ ซึ่งตอนนี้กลายเป็นวาระโรคระบาดระดับชาติ (epidemic) ไปแล้ว โดยเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ที่ผ่านมา มีรายงานว่าอินเดียมีผู้ติดเชื้อราดำมรณะกว่า 40,000 รายเลยทีเดียว อีกทั้งเชื้อราชนิดนี้ยังกระจายตัวได้อย่างรวดเร็วในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ ส่งผลให้มีโอกาสเสียชีวิตถึง 50 % อีกด้วย

เชื้อราดำ

โรคราดำมรณะ หรือ เชื้อราดำ คืออะไร

เชื้อราดำ (Black Fungus) หรือ โรคราดำมรณะ (Mucormycosis) เกิดจากเชื้อตระกูลฟังไจที่มีชื่อว่า Mucormycetes โดยเชื้อเหล่านี้พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินและอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อย เช่น ใบไม้ กองปุ๋ยหมัก และ มูลสัตว์ คนส่วนมากสัมผัสเชื้อเหล่านี้ทุกวันและเชื้อเหล่านี้ก็ไม่ส่งผลอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอจะมีโอกาสติดเชื้อสูงขึ้น โดยเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการหายใจ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในปอดหรือไซนัส และแพร่กระจายไปส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้

อาการของโรคเชื้อราดำ เป็นอย่างไร 

อาการของโรค หากติดเชื้อที่ไซนัสหรือสมอง

  • หน้าบวมข้างเดียว

  • ปวดหัว

  • รู้สึกแน่นบริเวณจมูกหรือไซนัส

  • มีรอยดำที่สันจมูกหรือในปาก

  • มีไข้

อาการของโรค หากติดเชื้อที่ปอด

  • มีไข้

  • ไอ

  • เจ็บหน้าอก

  • หายใจติดขัด

อาการของโรค หากติดเชื้อที่ผิวหนัง

  • มีแผลพุพอง และบริเวณที่ติดเชื้ออาจเปลี่ยนเป็นสีดำ

  • มีรอยแดงหรือบวมรอบบาดแผล

เชื้อราดำร้ายแรงมากแค่ไหน


เชื้อราดำเป็นโรคที่แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว เชื้อราดำมักพบบริเวณโพรงจมูก สมอง ปอด และดวงตา พบมากในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้านเชื้อราตามใบสั่งแพทย์ และอาจถึงขั้นผ่าตัดนำเนื้อเยื่อส่วนที่ติดเชื้อออก เพื่อป้องกันการลุกลาม

อินเดียรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อราดำตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิด-19 แต่พบเพียง 20 รายต่อปีเท่านั้น หลังจากการระบาดของโควิด-19 พบว่ามีผู้ติดเชื้อราดำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 


อ้างอิง BBC, CDC



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

นักวิทยาศาสตร์สร้าง Brain Map ละเอียดที่สุดในโลกจากสมองหนู

ค้นพบครั้งประวัติศาสตร์ นักวิทย์สร้างแผนที่สมองที่ละเอียดที่สุดจากสมองหนู ข้อมูลทะลักกว่า 500 ล้านจุด เชื่อมโยง AI-แพทย์อนาคต...

Responsive image

ถอดบทเรียน 3 ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ไทย-ศรีลังกา-บังกลาเทศ จากงานสัมมนา BIMSTEC Young Gen Forum

สรุปจาก 'Innovation & Growth Drivers' หัวข้อเสวนาจากงาน BIMSTEC Young Gen Forum : Where the Future Meets ที่มีผู้นำรุ่นใหม่จาก 3 ประเทศ BIMSTEC มาเล่าวิสัยทัศน์ ความท้าทาย บนเวทีสั...

Responsive image

คืนชีพ Dire Wolf หมาป่าที่สูญพันธ์ไปเมื่อ 12,500 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์ทำได้อย่างไร ?

Dire Wolf คือชื่อของหมาป่าสายพันธุ์หนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 12,500 ปีก่อน และในวันนี้ พวกมันได้กลับมามีชีวิตอีกครั้งอย่างน่าทึ่ง ในฐานะที่บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ Colossal Bioscie...