วินด์ เอนเนอร์ยี่ กับศักยภาพการลงทุนพลังงานลม ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) ที่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทำให้หลายประเทศทั่วโลกตระหนักและหาวิธีการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อน โดยนโยบายหลักที่เห็นได้ชัด คือ การขับเคลื่อนพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) แทนการใช้พลังงานจากการเผาไหม้ฟอสซิล เพื่อเป็นการช่วยกันรักษาอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงไปมากกว่านี้ 

ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าพลังงานหมุนเวียน ซึ่งมีอยู่หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น พลังงานจากแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานความร้อนใต้พิภพ  หรือแม้กระทั่งพลังงานชีวภาพเองก็ตาม มีความต้องการใช้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะพลังงานถือเป็นองค์ประกอบหลักสำหรับการพัฒนาในทุกด้าน โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา อย่างในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

วินด์ เอนเนอร์ยี่

สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความต้องการใช้พลังงานจะสูงขึ้นตามการพัฒนา และหลายประเทศได้มีการออกนโยบายชัดเจนถึงการขับเคลื่อนไปทางการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะประเทศเวียดนามที่มีการผลักดันพลังงานลมเป็นอย่างมาก นอกจากปัจจัยด้านภูมิประเทศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนที่จะดึงพลังงานจากแหล่งดังกล่าวมาใช้  ไม่ว่าจะเป็นทั้งลักษณะของพื้นที่ราบสูง หรือพื้นที่ชายฝั่งเองก็ตาม ยังมีการหลั่งไหลของเงินทุนจากต่างประเทศที่กำลังมองเวียดนามว่าเป็นประเทศที่เหมาะกับการลงทุนในหลาย ๆ ด้าน 

ขณะเดียวกันรายงานของ NIKKEI ASIA  รายงานว่า นโยบายการลงทุนพลังงานของเวียดนามนั้นได้มีการวางเป้าหมายอย่างชัดเจนถึงการเพิ่มกำลังการผลิตของพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม รวมถึงเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอนลง 15%   ภายในปี 2573  และ 20% ภายในปี 2588 เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง ทำให้เวียดนามถือเป็นหนึ่งในประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีศักยภาพสูงมากสำหรับการลงทุนพลังงานลม

โดยปัจจุบันเวียดนามมี renewable capacity ประมาณ 18,162 MW และมีอัตรการเติบโตของความต้องการใช้ไฟฟ้าต่อหัวอยู่ที่ 5.7%  (source : WEH company information)

วินด์ เอนเนอร์ยี่

คุณกำธร กิตติอิสรานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) กล่าวว่า ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงสำหรับการลงทุนในพลังงานลม ซึ่งสอดคล้องกับความเป็นไปของเทรนด์โลกที่ต้องการให้หลายประเทศหันมาใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ 

สำหรับ WEH เองปัจจุบันได้มีการดำเนินการโรงไฟฟ้าพลังงานลมอยู่ 8 แห่ง  บริเวณพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และชัยภูมิ รวมขนาดขนาดพื้นที่ทั้งหมด 850 ตารางกิโลเมตร มีกังหันลมผลิตไฟฟ้าทั้งหมด 270 ต้น กำลังการผลิตรวม 717  MW และจำหน่ายไฟให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) 

และบริษัทได้มีการวางแผนการดำเนินงานระยะยาว โดยภายใน 5 ปีข้างหน้า จะต้องขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าให้แตะอยู่ที่ระดับ 1,500  MW ผ่านการมองหาการลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีนโยบายผลักดันนโยบายด้านพลังงานหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง 

รวมถึงในประเทศไทยเอง ถ้าหากมีโอกาสจากการที่ภาครัฐบาลได้ปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan :PDP ) โดยสนับสนุนการลงทุนและเปิดประมูลสัญญาซื้อขายไฟ (PPA) ของพลังงานลมเพิ่มเติม บริษัทก็มีความพร้อมที่จะเข้าไปลงทุนเช่นกัน 

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเทศทั่วโลก ที่บริษัทมองหาโอกาสในการเข้าไปลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม เนื่องจากเป็นธุรกิจที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญสูง อีกทั้งบริษัทได้มีการวางเป้าหมายว่า ต้องการที่จะเติบโตในระดับ Global และพลังงานลมเป็นธุรกิจที่ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ และฤดูกาล ดังนั้นเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง และการดำเนินธุรกิจให้มีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอนั้น ต้องมีการขยายการลงทุนไปในหลากหลายพื้นที่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นโซน เอเชีย ยุโรป หรือ สหรัฐอเมริกา 

 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ถอดบทเรียน 3 ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ไทย-ศรีลังกา-บังกลาเทศ จากงานสัมมนา BIMSTEC Young Gen Forum

สรุปจาก 'Innovation & Growth Drivers' หัวข้อเสวนาจากงาน BIMSTEC Young Gen Forum : Where the Future Meets ที่มีผู้นำรุ่นใหม่จาก 3 ประเทศ BIMSTEC มาเล่าวิสัยทัศน์ ความท้าทาย บนเวทีสั...

Responsive image

คืนชีพ Dire Wolf หมาป่าที่สูญพันธ์ไปเมื่อ 12,500 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์ทำได้อย่างไร ?

Dire Wolf คือชื่อของหมาป่าสายพันธุ์หนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 12,500 ปีก่อน และในวันนี้ พวกมันได้กลับมามีชีวิตอีกครั้งอย่างน่าทึ่ง ในฐานะที่บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ Colossal Bioscie...

Responsive image

คอมตัมคอมพิวติ้ง ตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว ? สรุปความก้าวหน้าควอนตัมจากงาน NVIDIA GTC 2025

งาน NVIDIA GTC 2025 เป็นปีแรกที่มีการจัดเวทีพูดคุยเกี่ยวกับควอนตัมคอมพิวติ้งโดยเฉพาะ (Quantum Day) ซึ่ง NVIDIA ในฐานะเจ้าภาพ และผู้ขับเคลื่อนการประมวลผลแบบ Accelerated Computing จึ...