แบน iPhone 16 อินโดฯ ใกล้จบ ลือรัฐรับข้อเสนอ 3.4 หมื่นล้าน หลัง Apple ขอลงทุนเพิ่มกว่า 3 ครั้ง

ดูเหมือนว่ามหากาพย์การแบน Apple ของอินโดนีเซียใกล้จบลงแล้ว หลังสำนักข่าว Blommberg รายงานว่า ประธานาธิบดีปราโบโว ซูบิอันโต อนุมัติให้รัฐบาลรับการลงทุนมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 3.4 หมื่นล้านบาท ที่ Apple เสนอมาเพื่อปลดแบนการขาย iPhone 16 ในอินโดนีเซีย

ย้อนอ่านไทม์ไลน์ข้อพิพาทระหว่างอินโดนีเซียและ Apple ได้ที่ :

มหากาพย์การแบน Apple ของอินโดนีเซียใกล้จบลงแล้ว

อินโดนีเซียเริ่มมีท่าทีที่ดีกับข้อเสนอของ Apple หลังจากประธานาธิบดีปราโบโว ซูบิอันโตมีการหารือเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและบริษัทเทคโนโลยีชื่อดังแห่งนี้ โดย Bloomberg ระบุว่าประธานาธิบดีได้อนุมัติให้รัฐบาลรับข้อเสนอนี้และสนับสนุนให้คณะรัฐมนตรีดึงดูดการลงทุนเพิ่มเติมในอนาคต

ลือว่า Apple ได้รับการอนุมัติจากปราโบโวด้วยแผนการลงทุนที่ขยายขอบเขตขึ้น โดยหนึ่งในแผนสำคัญคือการตั้งโรงงานผลิต AirTags บนเกาะบาตัม โรงงานนี้จะจ้างพนักงานประมาณ 1,000 คนในระยะแรก และได้รับเลือกให้ตั้งอยู่ที่บาตัมเนื่องจากเป็นเขตการค้าเสรีที่ปลอดภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย และภาษีนำเข้า

โรงงานแห่งนี้คาดว่าจะผลิต AirTags คิดเป็น 20% ของการผลิตทั่วโลก และอีกส่วนหนึ่งของการลงทุนจะถูกใช้ในการตั้งโรงงานในเมืองบันดุง เพื่อผลิตอุปกรณ์เสริมอื่นๆ รวมถึงสนับสนุนโครงการ Apple Academy ในอินโดนีเซียที่มุ่งพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี เช่น การเขียนโค้ด

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังไม่ได้กำหนดกรอบเวลาที่แน่ชัดว่าเมื่อใดจะอนุญาตให้วางจำหน่าย iPhone 16 และแผนอาจเปลี่ยนแปลงได้ (อินโดนีเซียมีประวัติเคยกลับคำตัดสินในอดีต) รวมถึงสำนักงานประธานาธิบดี บริษัท Apple และกระทรวงประสานงานด้านเศรษฐกิจยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้

หากอินโดนีเซียรับข้อเสนออย่างเป็นทางการ จะเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของประธานาธิบดีปราโบโวที่มุ่งดึงดูดการลงทุนต่างชาติ และแสดงให้เห็นว่ากลยุทธ์ของประเทศในการกดดันบริษัทต่างชาติให้ลงทุนในประเทศประสบผลสำเร็จ 

แต่อย่างไรก็ตาม กรณีการแบนเพื่อกดดันให้ลงทุนครั้งนนี้ได้รับการจับตามองจากธุรกิจต่างชาติอยู่ไม่น้อย เนื่องจากอาจสร้างความกังวลให้บริษัทอื่นที่กลัวว่าจะถูกกดดันในลักษณะเดียวกันหากไม่ขยายการลงทุนในประเทศ

อ้างอิง: bloomberg

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...

Responsive image

ไทย–อินเดีย จับมือสู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”

ไทย-อินเดียยกระดับสัมพันธ์สู่ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ประกาศความร่วมมือ 6 ฉบับ ครอบคลุมเศรษฐกิจ ดิจิทัล วัฒนธรรม รับมือแรงสั่นสะเทือนจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ และเสริมบทบาทภูมิรัฐศาสตร์ใ...