Grab ได้เงินระดมทุน 2 พันล้านดอลลาร์จาก SoftBank และ Didi พร้อมเตรียมโค่น Uber

Grab ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเรียกรถโดยสาร และผู้ให้บริการชำระเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ประกาศชื่อ สองผู้ร่วมลงทุนล่าสุดคือ Didi Chuxing แอปฯเรียกรถยักษ์ใหญ่ที่ถูกเรียกว่า Uber ของจีน และ SoftBank Group Corp บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น เป็นผู้ร่วมทุนหลักรวม 2 พันล้านดอลลาร์

โดย Grab คาดว่าในวันจันทร์นี้จะสามารถระดมทุนได้เพิ่มอีก 500 ล้านดอลล่าร์จากทั้งผู้สนับสนุนใหม่และผู้สนับสนุนที่มีอยู่แล้ว และสรุปยอดการระดมทุนครั้งนี้ที่  2.5 พันล้านดอลล่าร์ เรียกว่าเป็นการระดมทุนครั้งใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะทำให้บริษัทมีมูลค่ากว่า 6 พันล้านดอลล่าร์ ซึ่งจะทำให้กลายเป็น Startup ที่มีมูลค่าที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข้อตกลงเป็นพันธมิตรระหว่าง SoftBank, Didi และ Grab เพื่อแข่งขันกับ Uber ในตลาดจากมาเลเซียและประเทศไทย

ที่ผ่านมา Uber ได้ถอนตัวออกจากรัสเซียและจีน ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่ Uber ใช้เงินลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ แต่ก็ต้องยอมจำนนให้กับคู่แข่งในท้องถิ่นที่ได้รับทุนและมีประสบการณ์ ส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นตลาดที่มีค่าใช้จ่ายอย่างมาก ไม่เพียงแค่ Grab แต่ยังรวมไปถึง Go-Jek ซึ่งถือครองอยู่ในอินโดนีเซีย

 “Grab ได้เริ่มเข้ารุกตลาดมากกว่า Uber ทั้งการซื้อกิจการใหม่และการเปิดตัวบริการใหม่ๆ ในภูมิภาค"

SoftBank เป็นผู้สนับสนุนหลักที่จัดหาเงินทุนในการต่อสู้กับ Uber ในเอเชีย ก่อนวางเงินทุน 5 พันล้านดอลลาร์ใน Didi พร้อมกับการลงทุนใน Grab และ Ola ของอินเดีย Grab เป็นหนึ่งในการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการจัดตั้ง mega Vision Fund

อีกทั้ง Grab ยังมีความสัมพันธ์กับบริษัทญี่ปุ่น ตั้งแต่ผู้ร่วมก่อตั้ง Anthony Tan ได้พบกับ ประธาน Masayoshi Son ของ SoftBank เป็นครั้งแรกที่สำนักงาน billionaire กรุงโตเกียวในปี พ.ศ. 2557 (2014)

“Grab กำลังใช้เทคโนโลยีเพื่อรองรับการขนส่งและการชำระเงิน ซึ่งเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” Masayoshi Son  กล่าว

Grab กล่าวว่า ปัจจุบัน Grab  มีส่วนแบ่งการตลาดบริการเรียกรถแท็กซี่จากผู้ให้บริการรายนอก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ 95% และส่วนแบ่งตลาดบริการเรียกรถโดยสารส่วนบุคคลที่ 71% และมีการเดินทางเป็นประจำทุกวันเกือบ 3 ล้านครั้ง พร้อมได้ลงทุนเพิ่มเติมในส่วนของบริการ Grab Pay ซึ่งเป็นโซลูชั่นชำระเงินผ่านมือถือในกรรมสิทธิ์ของ Grab ซึ่ง Grab อาจจะเตรียมความพร้อมสำหรับการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป ซึ่งอาจจะมีขึ้นภายในปีนี้

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของประเทศไทย ปัจจุบันเรามีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มรถโดยสาร 2 รายใหญ่คือ “Grab” และ “Uber” แต่ล่าสุดธุรกิจขนส่งโดยสารในไทยอาจมีการแข่งขันครั้งใหญ่เมื่อ “LINE MAN” ได้จับมือกับ สหกรณ์แท็กซี่สยาม จำกัด” เตรียมเปิดตัวบริการ “LINE TAXI” แบบถูกกฏหมาย ซึ่งต้องจับตาดูกันต่อไป

ที่มาของภาพและข่าว Bloomberg

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...

Responsive image

ไทย–อินเดีย จับมือสู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”

ไทย-อินเดียยกระดับสัมพันธ์สู่ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ประกาศความร่วมมือ 6 ฉบับ ครอบคลุมเศรษฐกิจ ดิจิทัล วัฒนธรรม รับมือแรงสั่นสะเทือนจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ และเสริมบทบาทภูมิรัฐศาสตร์ใ...