NASA เผย “วันสิ้นโลก” อาจมีจริง และเรารู้แล้วว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ?

ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา มนุษยชาติไม่เคยหยุดตั้งคำถามว่า “โลกจะสิ้นสุดเมื่อไร” จากคำทำนายทางศาสนา ไปจนถึงทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ให้เห็นถึงจุดจบของเรา แต่ล่าสุด NASA และทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Tōhō ประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมกันไขคำตอบที่อาจเขย่าอนาคตของมนุษย์ทั้งโลก

ผลลัพธ์จากการศึกษาครั้งนี้เปิดเผยว่า โลกจะถึงจุดจบในปี 1,000,002,021 หรือในอีก 1,000 ล้านปีข้างหน้า ซึ่งแม้จะฟังดูห่างไกล แต่สิ่งที่น่ากังวลยิ่งกว่า คือ ภัยคุกคามไม่ได้มาจากนอกโลก แต่คือดวงอาทิตย์ที่อยู่ใกล้เรานี่เอง

จุดจบจะไม่มาแบบทันที แต่มาอย่างช้าๆ และหลีกเลี่ยงไม่ได้

ข้อมูลจาก AS USA ระบุว่า ดวงอาทิตย์จะค่อยๆ ขยายตัวและร้อนขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงพันล้านปีข้างหน้า ส่งผลให้มหาสมุทรของโลกเริ่มระเหย อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น และท้ายที่สุด โลกจะกลายเป็นดาวเคราะห์ร้างที่ไม่สามารถอยู่อาศัยได้อีกต่อไป

แม้อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นในวันนี้จะส่วนหนึ่งมาจากมนุษย์ผ่านภาวะโลกร้อนและก๊าซเรือนกระจก แต่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า ความร้อนจากดวงอาทิตย์ในอนาคตจะทวีความรุนแรงจนมนุษย์ไม่สามารถอยู่รอดได้ แม้จะมีเทคโนโลยีล้ำแค่ไหนก็ตาม

พายุสุริยะกำลังมา

ในปี 2024 NASA ยังพบอีกหนึ่งภัยร้ายใกล้ตัว นั่นคือ พายุสุริยะ ซึ่งเกิดจากการปะทุของพลังงานจากดวงอาทิตย์ ทั้งในรูปแบบของ Solar Flares และ Coronal Mass Ejections (CMEs) ที่สามารถส่งผลต่อสนามแม่เหล็กโลก ลดระดับออกซิเจนในชั้นบรรยากาศ และเร่งให้โลกร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่ง NASA เตือนว่าอาจกระทบต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตในอนาคตอันใกล้

ทางรอดอยู่ที่ “นอกโลก” ?

ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์กำลังมองหาทางหนีจากโลกใบนี้ โดยหนึ่งในแผนการสำคัญคือการสร้างอาณานิคมบนดาวอังคาร ซึ่งมีสภาพแวดล้อมคล้ายโลกมากที่สุด และอาจเคยมีสิ่งมีชีวิตมาก่อนยุค Big Bang ด้วยซ้ำ

Elon Musk ก็เป็นหนึ่งในผู้นำวิสัยทัศน์นี้ ผ่านภารกิจ SpaceX ที่ต้องการย้ายมนุษย์ไปตั้งถิ่นฐานบนดาวอังคาร หากทำสำเร็จ จะกลายเป็นมรดกสำคัญที่เขาทิ้งไว้ให้มนุษยชาติ

แต่มนุษย์จะอยู่รอดได้จริงหรือ ?

คำถามใหญ่คือ ต่อให้ไปถึงดาวอื่นได้จริง มนุษย์จะสามารถใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนในสภาพแวดล้อมใหม่ได้แค่ไหน ? นักวิทยาศาสตร์บางส่วนมองว่า เทคโนโลยีระบบสนับสนุนชีวิต เช่น ระบบผลิตออกซิเจนและน้ำในพื้นที่ปิด อาจช่วยให้มนุษย์มี “บ้านชั่วคราว” ได้ แต่ไม่ใช่ตลอดไป เพราะร่างกายของมนุษย์ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมประดิษฐ์

อ้างอิง: ecoportal

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สิงคโปร์ดูแลคนทั้งประเทศ ด้วยงบสาธารณสุขแค่ 4% ของ GDP ได้อย่างไร ?

สิงคโปร์ดูแลสุขภาพคนทั้งประเทศ ด้วยงบแค่ 4% ของ GDP ได้อย่างไร ? เบื้องหลังคือระบบสาธารณสุขที่ออกแบบใหม่ทั้งโครงสร้างและความคิด...

Responsive image

ควรเปลี่ยนมือถือทุกกี่ปี สำรวจชี้ การเปลี่ยนทุก 5 ปี ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้เกือบครึ่ง

ควรเปลี่ยนมือถือทุกกี่ปี ? สำรวจพฤติกรรมการเปลี่ยนมือถือของคนทั่วไป พร้อมแนวทางใหม่จาก Back Market และ iFixit ที่ชวนคุณใช้งานให้นานขึ้นถึง 5-10 ปี เพื่อลดขยะอิเล็กทรอนิกส์และช่วยโล...

Responsive image

VTT จับมือ Refinity ถ่ายทอดเทคโนโลยี Olefy พลิกโฉมการรีไซเคิลพลาสติกแบบผสมสู่เวทีโลก

VTT หน่วยงานวิจัยและพัฒนาแห่งชาติของฟินแลนด์ ได้ลงนามถ่ายทอดสิทธิการใช้ Olefy เทคโนโลยีการรีไซเคิลพลาสติกแบบผสม (mixed plastic recycling) ให้กับบริษัท Refinity...